search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628088
การเปิดหน้าเว็บ:9479182
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ห่วงคนไทยใช้ยาพาราฯเกินขนาด จับตาปรับลดเหลือ 325 มก.
  20 ตุลาคม 2557
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000120306



        จับตาปรับสูตรยาพาราฯ เหลือ 325 มิลลิกรัม เหตุคนไทยใช้แต่ขนาด 500 มิลลิกรัม จนกลายเป็นกินยาเกินขนาดที่กำหนด ส่งผลต่อตับ อย. ระบุการขายยังต้องมีหลายขนาดเช่นเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับการรักษาผู้ป่วย แต่เภสัชกรควรแนะนำก่อนใช้ ชี้ส่งหนังสือเวียนผู้ประกอบการรับฟังความเห็น

        ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีข้อเสนอในการปรับลดสูตรยาพาราเซตามอล เนื่องจากเกรงการรับประทานมากจะเป็นพิษต่อตับ ว่า ที่น่าเป็นห่วงคือคนไทยส่วนใหญ่ชินกับการใช้ยาพาราฯ ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งมีการสั่งให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยอาจได้รับยามากสุดถึง 12 เม็ด ทำให้เกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดคือ ห้ามกินเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัม หรือวันละ 8 เม็ด ซึ่งเรื่องนี้คณะอนุกรรมการทบทวนตำรับยาแผนปัจจุบันสำหรับมนุษย์จะดำเนินการการทบทวนตำรับยาพาราฯ ที่วางจำหน่ายในประเทศไทย ทั้งสูตรเดี่ยวและสูตรผสม ให้มีปริมาณยาพาราฯ ต่อเม็ดสอดคล้องกับเกณฑ์ ซึ่งอาจมีการทบทวนว่าจะอนุญาตให้ใช้ขนาด 500 มิลลิกรัมหรือไม่ หรือควรลดเหลือเพียง 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าควรหันมาคำนวณสูตรยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวมากกว่า
       
        ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า ส่วนการทบทวนลดสูตรยาที่วางจำหน่ายในประเทศไทยคงแล้วแต่คณะอนุกรรมการฯจะพิจารณา แต่มองว่าการจำหน่ายยังต้องมีหลายขนาดเช่นเดิม เช่น 325 500 และ 650 มิลลิกรัมต่อเม็ด เพราะหากกำหนดให้เหลือเพียง 325 มิลลิกรัมต่อเม็ดเพียงอย่างเดียว อาจกระทบกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาพาราฯที่มากกว่า 325 มิลลิกรัม ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการรักษา เช่น หากจำเป็นต้องได้รับ 500 มิลลิกรัม ก็ต้องแบ่งเม็ดยาพาราฯ อีก เรื่องนี้จึงอยู่ที่เภสัชกรผู้จำหน่ายยาจะต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วยด้วย ว่าควรใช้ยาพาราฯ ขนาดเท่าไรจึงจะเหมาะสม สำหรับการจะทบทวนยกเลิกตำรับยาพาราฯ ชนิดหยดสำหรับทารกหรือไม่นั้นก็อยู่ที่อนุกรรมการฯ จะเป็นผู้พิจารณาเช่นกัน
       
        “ขณะนี้คณะอนุกรรมการได้ทำหนังสือเวียนถึงผู้ประกอบการผลิตยาพาราเซตามอลในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับฟังความเห็นต่อเรื่องฉลาก เอกสารกำกับ และคำเตือนของยาพาราเซตามอลยา โดยให้ส่งความเห็นกลับมายังสำนักยา อย. ภายในวันที่ 7 พ.ย. เพื่อพัฒนาปรับปรุงก่อนออกเป็นประกาศควบคุมต่อไป เนื่องจากเราต้องให้ผู้ประกอบการทราบว่า อย. เตรียมทบทวนเรื่องพวกนี้อยู่ ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมแล้ว ไม่อย่างนั้นจะเหมือนกับกรณียกระดับยาซูโดอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 แล้ว แต่ผู้ประกอบการยังไม่พร้อมทำให้ยาค้างอยู่ในท้องตลาดค่อนข้างเยอะ จึงต้องให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าลดลงมาเหลือ 325 มิลลิกรัมแล้ว สูตร 500 มิลลิกรัมต้องไม่ค้างอยู่ในตลาดเยอะ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว