|
|
|
|
สถิติ
|
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6646699 การเปิดหน้าเว็บ:9507020 Online User Last 1 hour (0 users)
|
|
|
|
|
|
|
3 กองทุนสุขภาพ ขยายสิทธิยาไต |
|
|
|
29 ธันวาคม 2553
|
|
|
|
ไทยโพสต์ : วันที่ 27 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการร่วม 3 กองทุนสุขภาพ สปสช. ประกันสังคม และกรมบัญชีกลางเห็นชอบร่วมกันขยายสิทธิประโยชน์ให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเข้าถึงยา กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงได้มากขึ้น โดยมีมติให้กำหนดบัญชียาและราคายาไปในทิศทางเดียวกัน คณะกรรมการร่วม 3 กองทุนซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของกรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานประกันสังคม ได้ประชุมเพื่อพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพที่อยู่ภายใต้การดูแลของกองทุนทั้ง 3 กองทุนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เน้นให้ประชาชนได้เข้าถึงการบริการเพิ่มมากขึ้น และมีมติให้ทั้ง 3 กองทุนร่วมกันพัฒนาสิทธิประโยชน์ดูแลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายให้ไปในทิศทางเดียวกันโดยในปี 2554 จะขยายและพัฒนาระบบให้ผู้ป่วยเข้าถึงยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นยาจำเป็นสำหรับผู้ป่วยไตวายและมีราคาสูง เป็นภาระกับงบประมาณของประเทศ โดยใช้ระบบการจัดหายาและราคายาของ สปสช.ที่ได้พัฒนาแล้วเป็นพื้นฐานของกองทุนอื่น นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า ทั้ง 3 กองทุนได้มีการประชุมต่อเนื่องมาทุกปี และในปีนี้กรมบัญชีกลางซึ่งดูแลสวัสดิการข้าราชการเป็นประธานการประชุม ที่ประชุมเห็นว่าการเข้าถึงยากระตุ้นการสร้างผลิตเม็ดเลือดแดงสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายยังแตกต่างกัน และราคาที่บริษัทยาขายให้แต่ละกองทุนแตกต่างกันเป็นมูลค่าปีละหลายร้อยล้านบาท ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ในปี 2554 ทั้ง 3 กองทุน น่าจะพัฒนาสิทธิประโยชน์ในเรื่องการเข้าถึงยาดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น และปรับราคากลางของยาให้ใกล้เคียงกันโดยใช้ข้อมูลราคายาของ สปสช. เป็นพื้นฐานของแต่ละกองทุน ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณของประเทศได้มากกว่า 500 ล้านบาทต่อปี นายสุบิน นกสกุล ประธานชมรมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 3 กองทุนเห็นความสำคัญของการเข้าถึงยากระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งทั่วประเทศมีผู้ป่วยไตวายประมาณ 4 หมื่นคน ต้องใช้ยาตัวนี้เป็นเงินถึง 2,000 ล้านบาท และปัจจุบันราคาที่บริษัทยาขายให้ สปสช.ต่ำกว่าที่ขายให้ระบบประกันสังคมและกรมบัญชีกลางหลายเท่าตัว เช่น ยาตัวที่นิยมใช้กันมากที่สุดขายให้ สปสช.ในราคาไม่เกิน 400 บาทต่อเข็ม แต่ขายให้สวัสดิการข้าราชการประมาณ 1,700 บาท และราคากลางของประกันสังคมที่ประกาศไว้ในราคา 1,750 ต่อเข็ม
|
|
|
|
|
|