|
|
|
|
สถิติ
|
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628214 การเปิดหน้าเว็บ:9479309 Online User Last 1 hour (0 users)
|
|
|
|
|
|
|
ซื้อ "วิตามิน" ตปท.ผ่านเน็ต ระวังเสียเงินเปล่า ขนาดเกินจัดเป็นยา ไม่ขึ้นทะเบียน |
|
|
|
02 กุมภาพันธ์ 2558
|
|
|
|
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์ ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000012979
เตือนซื้อ "วิตามิน-อาหารเสริม" จากต่างประเทศผ่านเน็ต ระวังของไม่ถึงมือ เหตุขนาดของวิตามินเกินกว่าหน่วยบริโภคตามที่กรมอนามัยกำหนด จัดเป็นยาตามกฎหมาย อย.ชี้หากไม่มีการขึ้นทะเบียนนำเข้าจะถูกสกัดที่ด่านอาหารและยา เสียเงินเปล่าโดยใช่เหตุ
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากต่างประเทศ เช่น วิตามิน เกลือแร่ โสมสมุนไพร หรือสารสกัดต่างๆ ต้องระมัดระวังและพิจารณาให้ดี เพราะอาจเสียเงินโดยใช่เหตุได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่มีการโฆษณาขายตามอินเทอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ต่างๆ นั้น ในประเทศต้นทางแม้จะบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดของวิตามิน เกลือแร่ หรือสารสกัดต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมแล้ว หากเกินกว่าเกณฑ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนด ล้วนถือว่าเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งวิตามิน หรือสารสกัดแต่ละตัวจะมีขนาดกำหนดไว้ไม่เท่ากัน และยิ่งมีการโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคได้ก็จัดว่าเป็นยา ซึ่งหากไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนนำเข้ามาในราชอาณาจักรกับ อย.ก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย "เมื่อสินค้าผ่านเข้ามายังประเทศไทย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ส่งสินค้าเร่งด่วน เช่น DHL หรือ FEDEX เป็นต้น จะดำเนินการนำสินค้าไปผ่านการตรวจสอบ หากเจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาตรวจแล้วพบว่าสินค้านั้นไม่ได้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องหรือไม่ได้ขออนุญาตนำเข้า ก็จะไม่อนุญาตให้นำสินค้านั้นเข้ามาในประเทศ ทำให้ผู้สั่งซื้อไปแล้วอาจไม่ได้รับสินค้าตามที่สั่ง ทำให้เสียเงินโดยใช่เหตุ ทั้งนี้ หากผู้บริโภคมีข้อสงสัยข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า - ส่งออกเกี่ยวกับยาและอาหารสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-590-7349" รองเลขาธิการ อย. กล่าว ภก.ประพนธ์ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 มีข้อกำหนดยกเว้นให้นำเข้าสินค้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ เฉพาะกรณีผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามาในประเทศ สามารถนำติดตัวเข้ามาได้ไม่เกินจำนวนที่จำเป็นจะต้องใช้ภายใน 30 วันเท่านั้น หากผู้ที่นำเข้าสามารถแสดงให้เห็นว่าการนำเข้ามานั้นเป็นเพราะอาการป่วย จำเป็นต้องนำมาใช้ เช่น เป็นโรคขาดวิตามิน จำเป็นต้องรับประทาน เจ้าหน้าที่ด่านอาหารและยาก็จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไปว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ก็จะอนุญาตให้นำเข้าได้ ไม่ใช่ว่าอ้างว่าป่วยจำเป็นต้องใช้ แต่นำเข้ามาเป็นจำนวนเหมือนการซื้อขายก็ไม่สามารถให้นำเข้ามาทั้งหมดได้ เป็นต้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน (Recommended Dietary Allowances : RDA) ตามเกณฑ์ของกรมอนามัยนั้น หากเป็นวิตามินซี ไม่ควรเกิน 60 มิลลิกรัม แคมเซียม ไม่เกิน 800 มิลลิกรัม เป็นต้น
|
|
|
|
|
|