search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6515369
การเปิดหน้าเว็บ:9358382
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เตือนใช้ยาสมุนไพรผิดสูตรตำรับเสี่ยงอันตราย
  21 เมษายน 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์     
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000045187    


        
กรมแพทย์แผนไทยเตือนศึกษาก่อนใช้สูตรยาสมุนไพร ชี้ใช้ผิด ไม่ถูกต้องตามสูตรต้นตำรับเสี่ยงอันตราย เผยทำคู่มือวิธีใช้ตำรับยาแผนไทย ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักฯแจกทุก รพ. ทั่วประเทศ ให้ ปชช. ศึกษาใช้เอง
       
       นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงกรณีความนิยมในการตีพิมพ์หนังสือตำรับตำรายาแผนไทยและยาสมุนไพรต่างๆ ในการรักษาอาการ หรือโรคต่างๆ แต่บางส่วนมักไม่อธิบายวิธีในการใช้ยา ว่า ถือเป็นเรื่องดีที่มีการเผยแพร่ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นตำรับตำราที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว คือ เป็นภูมิปัญญาของชาติ ตำรับชาติ ตำรับหลวง ภูมิปัญญาบุคคลต่างๆ หรือภูมิปัญญาทั่วไป ซึ่งก่อนการตีพิมพ์ก็จะมีการตรวจสอบที่มาที่ไปของตำรับตำราอยู่แล้ว จึงค่อนข้างน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม ทางกรมฯเองก็มีการติดตามการเผยแพร่ตำรับตำรายาเหล่านี้ว่าถูกต้องหรือไม่ด้วย แต่จะติดตามเป็นกรณีๆ ไป ที่ดูแล้วมีลักษณะไม่น่าเชื่อถือ เช่น สูตรยาสมุนไพรใหม่ๆ แปลกๆ ที่ยังไม่มีใครรับรอง เพราะไม่อยากให้เป็นในลักษณะอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง
       
       "ส่วนที่ไม่มีการบอกวิธีการนำไปใช้อาจเป็นข้อเสียที่ทำให้นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งยาแผนไทย ยาสมุนไพรเหล่านี้ แพทย์แผนโบราณมีการทดลองมานานจนทราบว่ากินแล้วปลอดภัยหรือไม่ ต้องกินปริมาณเท่าไร เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่จะใช้ยาเหล่านี้ตามหนังสือควรมีการศึกษาให้ดีให้เข้าใจเสียก่อน ว่า ตรงตามสูตรตำรับดั้งเดิมจริงหรือไม่ อย่างที่ผ่านมาก็พบมีการแนะนำการใช้สมุนไพรที่ไม่ถูกต้อง เช่น มะรุมที่แนะนำให้กินทั้งใบ ซึ่งจริงๆ แล้วหากไม่ผ่านความร้อนถือว่ามีพิษ หรือเปลือกมังคุดก็นำมากินดิบไม่ได้ เพราะมียาง ก็ต้องมีการสกัดเอาสารที่เป็นประโยชน์มาใช้" นพ.ธวัชชัย กล่าว
       
       นพ.ธวัชชัย กล่าวว่า กรมฯมีการบันทึกตำรับยาแผนไทย ยาสมุนไพรกว่า 140,000 ตำรับ และกำลังเร่งทำการวิจัยเพื่อพิสูจน์ผลของแต่ละตำรับ ซึ่งขณะนี้มีแล้วกว่า 72 ตัวได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติในการใช้รักษาโรคต่างๆ โดยเป็นยาตำรับกว่า 50 ตำรับ ซึ่งกรมฯ ได้มีการทำคู่มือการใช้ยาแผนโบราณ ยาสมุนไพรดังกล่าวให้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนในการนำไปศึกษาวิธีการใช้เอง ซึ่งในคู่มือก็จะอธิบายอย่างละเอียดถึงวิธีในการใช้ยาอย่างถูกต้อง โดยมีทั้งที่เป็นคู่มือรวมเล่มทั้ง 70 กว่าตัวยา และที่เป็นเล่มเดี่ยวของแต่ละตัวยา สำหรับยอดการใช้ยาแผนไทย ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลถือว่าเพิ่มขึ้นทุกปี 40-50%