search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6629823
การเปิดหน้าเว็บ:9481020
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ประกันสังคมขาดยาตับอักเสบซี กระทบผู้ป่วย หึ่ง! ยืมยา อภ.ค้างจ่าย 300 ล.
  31 กรกฎาคม 2558
 
 


ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์     
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000086196    



ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี สิทธิประกันสังคมขาดยา เหตุระบบจัดซื้อของกองทุนมีปัญหา กระทบประสิทธิภาพการรักษา อาจต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ และไม่หายขาด แวดวงสุขภาพ ลือ สปส.รวมงบบริหารในงบซื้อยาตับอักเสบซี ทำงบเกินจนมีปัญหา ต้องยืมยา อภ. แต่ค้างจ่าย 300 ล้านบาท
       
       นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ขณะนี้เกิดปัญหาในระบบการสั่งซื้อยาไวรัสตับอักเสบซีชนิดฉีดของกองทุนประกันสังคม โดยพบว่า มีการสั่งซื้อยาล่าช้าไปกว่า 4 เดือนแล้ว ทำให้ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีไม่ได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องได้รับการฉีดยาอย่างต่อเนื่องถึง 48 เข็ม ห้ามขาด เพราะหากขาดจะต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ที่สำคัญ ยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการรักษา เพราะหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะมีโอกาสหายขาดได้ จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ รพ.เอกชน ที่เป็นคู่สัญญากับประกันสังคมต้องไปซื้อยาเอง โดยสำรองจ่ายไปก่อน และค่อยไปเบิกกับประกันสังคม ปัญหาคือ รพ. บางแห่งไม่ทำเช่นนั้น ซึ่งล่าสุด ทราบว่า มีผู้ป่วยในสิทธิประกันสังคมจำนวน 2 ราย ที่ไม่ได้รับยาชนิดนี้ และน่าจะมีอีก เพียงแต่ไม่มีการร้องมาอย่างเป็นทางการ เรื่องนี้จึงอยากให้ประกันสังคมเร่งปรับปรุงเรื่องการสั่งซื้อยาให้เป็นระบบมากกว่านี้ ไม่เช่นนั้นก็จะกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
       
       นายนิมิตร์ กล่าวว่า สำหรับปัญหาการสั่งซื้อยาของประกันสังคมล่าช้านั้น จากการสอบถามเบื้องต้นทราบเพียงว่า มีปัญหาในเรื่องกระบวนการสั่งซื้อ โดยงบประมาณน่าจะเกินจากระเบียบข้อกำหนด แต่เหตุผลชัดเจนเป็นอย่างไรคงต้องไปสอบถามทางประกันสังคม
       
       แหล่งข่าวแวดวงสุขภาพ กล่าวว่า ปัญหาจากประกันสังคมน่าจะมาจากขั้นตอนการบริหารของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เอง โดยมีการรวมงบบริหารจัดการไปอยู่ในงบการซื้อยาชนิดนี้ ทำให้งบเกิน ล่าสุด มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า จากปัญหาการจัดซื้อ แต่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาไวรัสตับอักเสบซีนั้น สปส. มีการยืมยากับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อให้ผู้ป่วยก่อน แต่ยังค้างจ่ายกับ อภ. ถึง 300 ล้านบาท