search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6628400
การเปิดหน้าเว็บ:9479495
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  บัญชียาชาติแจงกลูโคซามีนไม่คุ้ม
  23 กุมภาพันธ์ 2554
 
 


             คณะอนุกรร  การบัญชียาหลักแห่งชาติออกโรงชี้แจงต่อสังคม เหตุผลยกเลิกยากลุ่ม กลูโคซามีนออกจากบัญชี เพราะไม่มีความคุ้มค่าในการรักษาและไม่คุ้มทาง เศรษฐกิจ ยันยังมียาในบัญชียาหลักให้เลือกใช้เพียงพอ วอนแพทย์-คนไข้เข้าใจ

        นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่กรมบัญชีกลางประกาศงดการเบิกจ่ายยา ในกลุ่มยาบรรเทาอาการในโรคข้อเข่าเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า เช่น กลูโคซามีน จนเกิดกระแสความเห็นต่างๆ นานา ทั้งในเชิงสนับสนุนและคัดค้าน ว่า การคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทางการ แพทย์ที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับอันตรายจากยา ความสะดวกในการใช้ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนความคุ้มค่า ในปัจจุบันการดำเนินการเกี่ยว กับบัญชียาหลักแห่งชาติอยู่ภายใต้ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยการพัฒนาระบบยา แห่งชาติ โดยการทำงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ และคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีการประชุมพิจารณารายการยาสม่ำเสมอทุกเดือน ทำให้บัญชียาหลักแห่งชาติมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ การคัดเลือกยาเป็นไปเพื่อประโยชน์ประชาชนทุกคนในประเทศ มิใช่เพื่อผู้ใช้สิทธิสวัสดิการกองทุนใดกองทุนหนึ่ง
       
             ทั้งนี้ กระบวนการคัดเลือกยาเข้าสู่บัญชียาหลักใช้การกลั่นกรอง 3 ขั้นตอน เริ่มต้นจากการเสนอรายการยาโดยผู้ใช้ยาหรือบริษัทยา โดยคณะผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติในแต่ละสาขา ซึ่งเสนอราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง คณะแพทย์และเภสัชกรในมหาวิทยาลัย และ กระทรวงสาธารณสุข คณะผู้เชี่ยวชาญแห่งชาติจะเป็นผู้พิจารณาจากข้อมูลทาง วิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้
       ขั้นตอนที่ 2 เป็นการศึกษาความคุ้มค่าโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ ในขั้นตอนสุดท้ายจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลัก แห่งชาติ ซึ่งมีแพทย์และเภสัชกรอาวุโส  ผู้แทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยว ข้อง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกองทุนต่างๆ ได้แก่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง และยังมีผู้แทนผู้ป่วยอยู่ในคณะอนุกรรมการด้วย 
      
       นพ.สุวิทย์กล่าวว่า หากมียาใดที่ไม่ได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ก็มีเหตุผล 3 ประการ คือ

  1. เป็นยาที่ไม่ได้ผลจริง หรือได้ผลน้อย หรือข้อมูลของผลที่ได้ยังก้ำกึ่งหรือไม่ชัดเจน
  2. มีอันตรายมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
  3. ไม่คุ้มค่า โดยราคายาไม่สอดคล้องกับประโยชน์ที่ได้รับ หรือสูงจนเกินความสามารถในการจ่ายของระบบสาธารณสุขของประเทศ

ซึ่งในกรณีของ ยารักษาโรคข้อเสื่อมในกลุ่มนี้เข้าข่ายในข้อ 1 และข้อ 3 ดังกล่าวมาแล้ว

     "การตัดสินใจของกรมบัญชีกลางในการงดการเบิกจ่ายยาในกลุ่มนี้ สอดคล้องกับ หลักฐานทางวิชาการที่บัญชียาหลักแห่งชาติได้ตัดสินใจมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ในการไม่บรรจุยาเหล่านี้ไว้ในบัญชีฯ ขอเรียนว่ายังมียาในบัญชียาหลักแห่งชาติทั้งที่เป็นยาแผนปัจจุบันและยา สมุนไพรอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นยากิน ยาฉีด ยาฉีดเข้าข้อ และยาทาเฉพาะที่ ที่มีประสิทธิผลจริงในการบรรเทาอาการให้แก่ผู้มีอาการโรคข้อเสื่อม คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติยืนยันว่า หากยาใดมีความจำเป็นต่อ สุขภาพของคนไทย มีความคุ้มค่าและประเทศสามารถรับภาระค่าใช้จ่ายได้ ยานั้นจะได้รับการบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติอย่างแน่นอน"  นพ.สุวิทย์กล่าว.