search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6518851
การเปิดหน้าเว็บ:9362097
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ชำแหละปมคนไทยซื้อยาราคาแพง!!!
  04 พฤษภาคม 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


       ในแต่ละปีคนไทยใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อ ยาเพื่อมารักษาโรคเป็นเม็ดเงินนับหมื่นล้านบาท ขณะเดียวกันยาบางประเภท
หากซื้อจากร้านขายยา คลีนิกเอกชน โรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน มักราคาแตกต่างกันมาก หรือ
ซ้ำร้ายแพงกว่ากันเป็นหลักร้อยบาทต่อชนิด โดยที่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสามารถทำกำไรจากการจำหน่ายยาบางชนิดสูงเฉลี่ย
ประมาณ 30-200 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ก่อให้เกิดคำถามว่า เหตุใดคนไทยต้องจ่ายเงินซื้อยารักษาแพง

       
       
เปิดปม 6 ต้นเหตุยาแพง
       
       
ประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่ง ชาติ (คสช.) นพ.วิชัย โชควิวัฒน ระบุถึง ปัญหายาแพงมี 6 ประการ คือ
หนึ่ง - สิทธิบัตร สอง - สิทธิผูกขาดที่ทำนอกเหนือสิทธิบัตรยา ยกตัวอย่าง เมื่อยาใหม่ที่ไม่มีสิทธิบัตรเข้ามา
พวกบริษัทยาจะนำยากลุ่มนี้เข้าโครงการควบคุมกำกับยา โดยจะห้ามบริษัทยาอื่นผลิตยากลุ่มนี้ทันที
ที่สำคัญจะสามารถตั้งราคายาได้ตามใจชอบ

       
       
สาม - การโฆษณาเกินจริง อย่างวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ที่ระบุว่า สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ ทั้ง ๆ ที่ประสิทธิภาพไม่ได้มากเท่าที่โฆษณา ซึ่งตรงนี้ทำให้ธุรกิจยามีรายได้มหาศาล เห็นได้จากพวกซีอีโอของธุรกิจยาต่าง ๆ มีเงินเดือนตลอดทั้งปีสูงถึง 3,500 ล้านบาท และยังมีสิทธิซื้อหุ้นในราคาถูกอีก 3,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้มหาศาลทีเดียว
       
       
สี่ - งบประมาณส่งเสริมการขาย อาทิ การสนับสนุนแพทย์บางกลุ่มในการจัดกิจกรรม โดยแพทย์กลุ่มนี้ก็ทำตัวเหมือนทาสบริษัทยา และแพทย์เหล่านี้ก็จะสั่งจ่ายยาของบริษัทตัวเองเป็นการตอบแทน
       
       
ห้า - อุตสาหกรรมยาของประเทศไทยอ่อนแอ กลายเป็นจุดอ่อน ขณะที่ประเทศอินเดียกลับผลิตยาขายประเทศต่าง ๆ ได้ เพราะมีความกล้าในการผลิต แต่อุตสาหกรรมยาในไทยขาดความกล้า ทำให้ยังเป็นอุตสาหกรรมทารกอยู่ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เพียงพอ และ หก-การยัดเยียดการจ่ายยา โดยให้แพทย์บางรายสั่งจ่ายยาแพง ๆ กรณีที่ผู้ป่วยบางรายเบิกจ่ายได้ เป็นต้น
       
       
“ ที่สำคัญปรัชญาของการขายยาของบริษัทยาในยุคนี้เปลี่ยนไปจากเดิมที่มุ่งขายยา เพื่อรักษาความเจ็บป่วย ก็เปลี่ยนมาเป็นการขายยาเพื่อยอดขาย โดยเน้นให้ความจำเป็นของยา ผ่านการกำหนดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ เบาหวานเมื่อก่อนเกิน 150 มิลลิกรัมจึงจะต้องใช้ยา แต่ปัจจุบันแค่ 120 มิลลิกรัม ก็ถูกแพทย์ระบุว่าต้องใช้ยาแล้ว ขณะเดียวกัน ระบบของรพ.เมืองไทยจะขึ้นอยู่ระบบผู้เชี่ยวชาญ ที่มี สมาคมวิชาชีพเป็นผู้กำหนดให้คุณและโทษ แต่ไม่เคยคำนึงถึงผู้รับบริการ ”
       
       
แฉ บ.ยาตั้งราคาเกินจริง
       
       
ขณะที่ การวิจัยศึกษ าเรื่อง ราคายาในประเทศไทย ของคณะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากวงการยา จากภาควิชาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ จากหน่วยวิจัยเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร ได้ร่วมกับ ภญ.วรสุดา ยูงทองแห่งกองควบคุมยา อ.ย. ระบุว่า จากการ สำรวจยา 43 ชนิดที่จำหน่ายอยู่ในประเทศไทย และที่ขึ้นทะเบียนในปี 2550พบว่า ร้อยละ 51 ของยาที่สำรวจ มีราคาตั้งแต่เม็ดละ 11-50 บาท ขณะที่ร้อยละ 15 มีราคาตั้งแต่เม็ดละ 51-33 บาทร้อยละ 25 มีราคาตั้งแต่เม็ดละ101-500 บาท และ ร้อยละ 3 มีราคาสูงกว่าเม็ดละ 1,000 บาท จะเห็นว่าโดยภาพรวมถือว่ายามีราคาแพงมาก ที่สำคัญเมื่อตรวจสอบราคาต้นทุนที่บริษัทยาแจ้งไว้กับกรมการค้าภายในกับราคา ที่ขายให้โรงพยาบาลรัฐ พบว่ามีส่วนต่างถึง 60-800 เท่า
       
       
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคายาแพงคือ “สิทธิบัตร” หากไม่มีสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตรหมดอายุทำให้ราคาถูกลงได้ถึง ร้อยละ 90 อาทิกรณียาต้านไวรัสบางตัวที่ มีสิทธิบัตรแพงกว่ายาไม่มีสิทธิบัตร 6เท่า ยารักษาโรคเบาหวานที่มีสิทธิบัตรแพงกว่ายาไม่มีสิทธิบัตร 14.5 เท่า
       
       
อีกปัจจัยหนึ่ งที่ สำคัญคือ บริษัทขายยาให้โรงพยาบาลในราคาแพงกว่ าที่ แจ้งไว้กับกรมการค้าภายในหลายร้อยเท่าตัว โดยให้เหตุผลว่า เป็นมูลค่าที่รวมค่าบริหารจัดการภายในทว่าเมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดได้ พบประเด็นที่น่าพิจารณา คือ
       
       
1.ค่าใช้จ่ายดังกล่ าวเน้นหนักไปที่ “การตลาดหรือการส่งเสริมการขาย” หรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ กระตุ้นผู้บริโภคโดยตรง มีการสำรวจพบว่า ค่าใช้จ่ายในการโฆษณายาของไทยมีมูลค่าสูงมาก เฉพาะการโฆษณาในสื่อหลัก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ วิทยุบิลบอร์ด ฯลฯ ในช่วง 3 ปี(พ.ศ.2549-2551) สูงกว่าปีละ1,500 ล้านบาท
       
       
2.การสนับสนุนการทำกิจกรรมของแพทย์ บางกลุ่ม เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นในฐานะที่ แพทย์เป็นผู้สั่ งจ่ ายยา โดยเฉพาะการสนับสนุนแพทย์ให้ใช้ยาของบริษัทนั้นๆ รวมถึงบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ เช่น เภสัชกร พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งล้วนแต่เป็น “ผู้มีอำนาจในการจ่ายยาและจัดซื้อยา” ทั้งสิ้น
       
       
กลวิธีที่บริษัทยาใช้เพื่อให้เข้าถึง ผู้มีอำนาจในการสั่งจ่ายยา อาทิการเชิญไปต่างประเทศ การให้ทุนทั้งระดับบุคคลและสถาบันการติดต่อโดยใช้สาวสวย หรือ “พริตตี้” การให้ค่าตอบแทนแพทย์ตามยอดสั่งยา และให้ค่ารายหัวกรณีที่สั่งจ่ายยารักษาโรคเรื้อรังแก่ผู้ป่วยรายใหม่ เป็นต้น
       
       
สภาพเช่นนี้ส่งผลต่อการจ่ายยาและการ จัดหายา อาทิทำให้ยามีราคาแพงเกินจริง ส่งเสริมให้เกิดการจ่ายยาอย่างฟุ่มเฟือย การสั่งซื้อยาบางกลุ่มที่ไม่จำเป็น และการให้ยาที่ไม่เหมาะสมจนอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
       
       
นี่ คือปมปัญหาอันท้าทายของมนุษยชาติในวันนี้ ตราบเท่ าที่ “ยา” ยังเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
และผู้คนในทุกสังคมต่างอยู่ภายใต้สถานะแห่งความยากดีมีจนไม่แตกต่างกัน

       
       
ระบุรพ.รัฐบวกราคายา       สูงกว่าเอกชน
       
       
ทั้งนี้ ยังพบอีกว่า สำหรับยาต้นแบบ (Original drug:ยาที่ผ่านการวิจัยและพัฒนาอย่างมากและใช้เงินลงทุนสูง มีฤทธิ์รักษาจริงและผลข้างเคียงน้อย ผู้ผลิตยาต้นแบบจะได้รับสิทธิบัตรผูกขาดในการผลิตยาประมาณ 20 ปี เมื่อสิทธิบัตรสิ้นสุดลง ผู้ผลิตรายอื่นก็สามารถผลิตยานั้นออกจำหน่ายได้ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่าง ประเทศ) กับ ยาสามัญ (Generic drugs: ยาที่ผลิตขึ้นภายใต้เครื่องหมายการค้าอื่นใด ที่ไม่ใช่เครื่องหมายการค้าตามสิทธิของผู้ครองสิทธิบัตรยา แต่มีตัวยาสำคัญ เป็นชนิดเดียวกันกับยาต้นแบบ โดยผลิตหลังจากยาต้นแบบได้รับการรับรอง และอนุมัติให้ ใช้ในการรักษาโรคแล้ว ซึ่งอาจลอกเลียนสูตรยาต้นแบบเมื่อยาเหล่านั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว มีราคาถูกกว่ายาต้นแบบหลายเท่าตัว มีทั้งนำเข้าจากต่างประเทศไทยและผลิตในประเทศ ) ระหว่างโรงพยาบาลของรัฐ กับ ร้านขายยาเอกชน พบว่า
       
       
ราคายาต้นแบบของโรงพยาบาลรัฐที่ขาย ให้ผู้ป่วยแพงมีการตั้งราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นบวกจากต้นทุน (Mark up )เฉลี่ย 32 เปอร์เซ็นต์ และยาสามัญราคาเพิ่มขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ราคายาสามัญของร้านขายยาเอกชน 36.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนยาต้นแบบของร้านขายยาเอกชนบวกเพิ่มขึ้นจากราคาต้นทุน 43.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยาสามัญบวกเพิ่มขึ้น 36.6 เปอร์เซ็นต์
       
       
“ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานทั้งราคาซื้อ และขาย ไม่มีการควบคุม(mark up) แม้แต่ราคาที่ภาครัฐซื้อแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน เนื่องจากผู้ขายยอมขาดทุนในบางแห่ง แต่นำกำไรจากโรงพยาบาลอื่นๆหรือภาคเอกชนบางแห่งมาชดเชย ดังนั้นราคายาที่ภาครัฐขายให้ผู้ป่วยจึงแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นgeneric เดียวกัน หรือยาบางตัวแม้จะมีชื่อสามัญและมีการแข่งขันแล้ว ยาแบรนด์ก็ยังแพงมากอยู่”
       
       
นอกจากนี้ ยังมีการตั้งราคาไม่สามารถตรวสอบได้ ทั้งนี้หากวิเคราะห์ต้นทุนแท้จริงของยา ประกอบด้วย หนึ่ง-การวิจัย สอง-การบริหารจัดการ สาม-การตลาด สี่-ภาษี สำหรับยาในประเทศ ภาษีเป็น 0 % ส่วนยานำเข้าจากต่างประเทศ ภาษีนำเข้าประมาณ 0 เปอร์เซ็นต์ สำหรับยาประเภทวัคซีน และประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับยานำเข้าทั่วไป โดยโครงสร้างต้นทุนแท้จริงของราคายาแต่ละตัวไม่ค่อยมีใครทราบ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตยาสามารถแจ้งเท่าไหร่ก็ได้ ดังนั้นเมื่อต้องไปต่อรองราคายาจึงค่อนข้างลำบาก ส่งผลให้โครงสร้างราคายาจำหน่ายจึงไม่มีมาตรฐานขึ้นอยู่กับความสามารถในการต่อรอง และกลยุทธ์ในการทำตลาดบริษัทยา
       
       
“ เราไม่มีโอกาสรู้เลยว่า ราคาที่บริษัทจำหน่ายหรือบริษัทนำเข้ายาแจ้งต่อคณะกรรมการอาหารและยา และกรมการค้าภายในเป็นราคาที่สมเหตุสมผลหรือไม่ เพราะผู้ขายเป็นผู้กำหนดราคาเอง โดยรัฐไม่มีอำนาจต่อรอง ทั้งนี้เมื่อสำรวจงบการเงินบริษัทยา 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ความสามารถในการทำกำไรสูงกว่าบริษัทยาในอังกฤษ เช่น เมื่อพิจารณาดูจากค่า ROCE กำไรสุทธิก่อนหักภาษีและดอกเบี้ยนต่อสินทรัพย์หักหนี้ระยะสั้นเท่ากับ 0.335 ขณะที่ในอังกฤษเท่ากับ 0.21”
       
       
ผู้เชี่ยวชาญยา แนะทางออกแก้ปม
       
       
อย่างไรก็ตาม แนวทางควบคุมราคายาไม่ให้แพงเกินเหตุนั้น อาจารย์ รศ.ดร.ชะอรสิน แนะนำว่า
ภาครัฐควรมีหน่วยงานเฉพาะที่มีอำนาจและหน้าที่เข้ามากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือ ตั้งแต่ต้นทุนแท้จริง ราคานำเข้า หรือราคาจำหน่ายต่อผู้ป่วยแล้ว โดยกำหนดให้อยู่ภายในหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขและคณะทำงานที่มีความรู้ และความเชี่ยวชาญยา ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยา

       
       
ขณะเดียวกัน ด้านกฏหมาย จำเป็นต้องมีกฎหมายหรือกฎระเบียบในการควบคุมราคายาอย่างเคร่งครัด
ตั้งแต่ให้อำนาจและหน้าที่หน่วยงานและบุคลากรที่ทำงานอย่างครอบคลุม

       
       
“ ปัจจุบันเมืองไทย มีระบบควบคุมราคายาไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจาก มีเฉพาะแต่การควบคุมราคาจำหน่ายไม่ให้เกินราคาที่กำหนดไว้ โดยหน่วยงานของรัฐเพียงแห่งเดียว ได้แก่ กรมการค้าภายในตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ตามมาตรา 24-มาตรา 25 แต่ไม่ได้ควบคุมการตั้งราคาตั้งแต่การนำเข้าหรือการผลิต ทั้งนี้ การไม่มีกฏหมายควบคุมราคายาตั้งแต่ต้นน้ำมากำหนดตอนปลายน้ำ ซึ่งเป็นช่วงราคาจำหน่ายที่ผู้บริโภคไม่ให้ขายเกินราคาที่กำหนดไม่ได้แก้ปัญหาปัญหาราคาแพงหรือสูงกว่าต้นทุนแท้จริง อีกทั้งยังเป็นช่องโหว่ให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ายามักกำหนดราคายาให้สูงไว้ ก่อนและเมื่อนำมาจำหน่ายก็ลดราคาหรือขายเท่ากับราคาที่กำหนดไว้ข้างกล่อง หรือราคาที่แจ้งไว้”อาจารย์ รศ.ดร.ชะอรสิน บอก