search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6522884
การเปิดหน้าเว็บ:9366673
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแนะสิทธิคนไทยซื้อยานอกรพ.ประหยัดเงิน 10 เท่า!!
  16 พฤษภาคม 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


       เลขามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “ สาลี อ๋อง สมหวัง” แนะคนไทยมีสิทธิ ร้องขอให้แพทย์เขียนใบสั่งซื้อยาเพื่อนำไปซื้อยาข้างนอกได้ตามกฎหมาย เผยประสบการณ์ส่วนตัวทำมาแล้ว ประหยัดค่ายาได้ถึง 10 เท่า จาก 6,000 บาทเหลือแค่ 600 บาท
       
       
มีการถกเถียงประเด็นเรื่องราคายา หรือราคาค่าบริการเป็นธรรมกับผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากใน พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีประเด็นเรื่องการควบคุมราคายา หรือแสดงโครงสร้างราคายา คงมีแต่ในพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ซึ่งมีประเด็นที่ว่า ยาเป็นสินค้าควบคุม ตามมาตรา 24 แต่ก็ไม่เคยมีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ที่ออกมาว่ายานั้นควรมีราคาเท่านั้น เท่านี้ หรือขายในราคาที่ไม่เกินที่
       
       
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดไว้ตามมาตรา 25 หรือในมาตราอื่นที่เกี่ยวข้อง (ยังไม่ได้ใช้อำนาจอย่างเต็มที่) คงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด (จะมีเพียงแต่สินค้าบางรายการเท่านั้นที่กำหนดราคาสูงสุดมาให้เลย) อย่างไรก็ดี ยารักษาโรค เป็นสินค้าควบคุมของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะควบคุม ไม่ให้ขายในราคาที่สูงกว่า ราคาที่กำหนด
       
       
ดังนั้น ผู้เสียหาย รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ประสบเหตุยาแพง อาจแจ้ง กรมการค้าภายในได้ รายงานข่าวดังกล่าว เป็นเครื่องสะท้อน ให้เห็นว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน ผู้ป่วยมักมีความเข้าใจผิดๆว่า การรักษาพยาบาล เป็นเรื่องตายตัว ยืดหยุ่นไม่ได้ แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรค และสั่งยาเท่านั้น
       
       
“สารี อ๋องสมหวัง” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และในตำแหน่งล่าสุดโฆษกชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ให้ความเห็นกับ “ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์”ว่า ในความเป็นจริง ผู้ป่วยและญาติ มีสิทธิ์สอบถามแพทย์ ถึงอาการ แนวทางการรักษา ที่ได้ผลที่สุด และที่สำคัญ ก็คือ ยาที่ใช้รักษาโรคนั้น รวมทั้งราคายาโดยประมาณ เช่น ถ้าไปโรงพยาบาลรัฐบาล สามารถ แจ้งความจำนงว่า ต้องการยาที่ดีที่สุด แม้ไม่มียาในห้องยาของโรงพยาบาล ก็ขอให้แพทย์ เขียนใบสั่งยา ให้ออกไปซื้อ ที่ร้านขายยา นอกโรงพยาบาลได้
       
       
แม้ไปโรงพยาบาลเอกชน ก็มีสิทธิ์ขอใบสั่งยา ออกไปซื้อ ยา นอกโรงพยาบาลได้เช่นกัน จะได้ไม่ต้องจ่ายค่ายาแพง เมื่อผู้ป่วยแจ้งเจตจำนง ให้แพทย์เขียนใบสั่งยาแล้ว อาจถามแพทย์เพิ่มเติมว่า มียาชนิดอื่น นอกจากที่ เขียนในใบสั่ง ที่มีประสิทธิผล ทางการรักษาสูงสุดหรือไม่ ถ้ามี และเราต้องการ ก็ขอให้เขียน ใบสั่งยา ให้ใหม่ เพราะบางครั้ง การถามครั้งนั้น อาจทำให้คุณและญาติๆ หายป่วยเร็วกว่าปกติด้วย
       
       
“การที่ผู้บริโภคจะร้องขอให้แพทย์ เขียนใบสั่งซื้อยาเพื่อนำไปซื้อยาข้างนอกนั้นเป็นสิทธิที่สามารถทำได้
เพราะผ่านมาตนเองก็เคยทำแบบนี้ ซึ่งการไม่ซื้อยากับโรงพยาบาลจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งได้ เป็น 10 เท่าตัว จากที่เคยจ่ายค่ารักษารวมกับค่ายาและบริการครั้งละ 6,000 บาทต่อการรักษาหนึ่งครั้งก็เหลือเพียง 600 บาทต่อครั้ง”

       
       
แต่ในทางกลับกัน การผนึกกำลังและเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลกระทบกับโรงพยาบาลขนาดเล็กและกลาง ที่มีสายป่านไม่ยาวพอ จนอาจต้องถูกกลืนในที่สุด เพราะอำนาจการต่อรองที่น้อยกว่าโรงพยาบาลเครือข่ายจำนวนมาก และนี่จึงเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า อนาคตธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในไทยจะเหลือเพียงไม่กี่กรุ๊ปเท่านั้น