ค้นหาภายในเว็บไซต์
สถิติ
ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6646649
การเปิดหน้าเว็บ:9506970
Online User Last 1 hour (0 users)
ส่อโกงเบิกจ่ายยา! DSIพบ3โรงพยาบาลรัฐ
11 เมษายน 2554
ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
ส่อโกงเบิกจ่ายยา!
DSI
พบ
3
โรงพยาบาลรัฐ
-
ผู้จัดการรายวัน
9
เม.ย.
2554
ASTV
ผู้จัดการรายวัน -
ดีเอสไอ
พบ
3
โรงพยาบาลรัฐ ตัวเลขเบิก-จ่ายยาผิดปกติ ไม่ตรงกับกรมบัญชีกลาง ปูด!มีแก๊งสมคบเซ็นชื่อรับยาแทนกัน หมอมอบอำนาจพยาบาลจ่ายยาแทน ไม่เป็นตามกฎ ส่อให้เกิดช่องว่างทุจริต
เล็งสุ่มอีกทั่วประเทศ แค่สรรพสิทธิประสงค์
ที่เดียวสูญ
120
ล้าน
วานนี้ (
8
เม.ย.) นายสรรเสริญ ปาลวัฒน์วิไชย รองอธิบดีดีเอสไอ แถลงผลการตรวจสอบการเบิกจ่ายยาระบบจ่ายตรงของครอบครัวข้าราชการ ในโรงพยาบาล
3
แห่ง ว่าพบความผิดปกติในการเบิกจ่ายยากับกรมบัญชีกลาง ในโรงพยาบาลดังกล่าว
คือ โรงพยาบาลค่ายเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร โรงพยาบาลเรณูนคร จ.สกลนคร และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ซึ่งในส่วนของ รพ.ค่ายเขตอุดมศักดิ์ เกิดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ทำให้ข้อมูลของกรมบัญชีกลางไม่ตรงกับโรงพยาบาล
จึงไม่ใช่การทุจริตแต่เป็นเพียงความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล ส่วน รพ.เรณูนคร และสรรพสิทธิประสงค์ พบกรณีที่คล้ายคลึงกันคือ
มีการรับยาแทนผู้ป่วย โดยโรงพยาบาลไม่มีระบบตรวจสอบอย่างรัดกุม บางกรณีเป็นเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลมาเซ็นชื่อรับยาแทนคนไข้ แต่คนไข้ไม่ได้รับยาจริง บางรายแพทย์มอบหมายให้พยาบาลเป็นผู้สั่งจ่ายยาให้คนไข้ได้
ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวไม่เป็นไปตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง ทำให้เกิดช่องว่างที่ส่อทุจริต
ตามปกติระบบจากตรงของกรมบัญชีกลาง ผู้ป่วยจะต้องลงทะเบียนล่วงหน้า รวมถึงสแกนลายนิ้วมือและลงลายมือชื่อไว้กับรพ. และหากญาติจะรับยาแทนก็ต้องปฏิบัติในลักษณะเดียวกันคือต้องลงชื่อรับรองการ รับยา ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าแต่ละรพ.ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้น ดีเอสไอจะทำหนังสือแจ้งไปยังกรมบัญชีกลางและกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้มี หนังสือสั่งการให้ รพ.ปฏิบัติตามระเบียบการจ่ายยาอย่างเคร่งครัด สำหรับยาที่พบว่ามีการเบิกแทนกันมากที่สุดคือยารักษาโรคเรื้อรัง
เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาไขมันอุดตันในเส้นเลือด ยารักษาความดันโลหิต
ทั้งนี้ ดีเอสไอพบว่า เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลในทุกระดับเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายยาให้คน
ไข้เกินความเป็นจริงแต่ขณะนี้ผลการสอบยังไม่ถึงระดับผู้อำนวยการโรงพยาบาล ส่วนมูลค่าความเสียหายโดยรวมเบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินได้ นอกจากนี้ยังพบว่าบุคลากรโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ได้มีการสั่งซื้อยานอก บัญชียาหลักจำนวนมาก
เช่น สั่งซื้อยา
ROSUVASTATIN (
หรือยาลดไขมัน) ยอดสั่งซื้อ
72,896,681
ล้านบาท หรือ สั่งซื้อยา
ESOMEPRAZOLE (
หรือยาลดการหลั่งกรด) ยอดสั่งซื้อ
51,028,750
ล้านบาท รวมประมาณ
120
ล้านบาท ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษจะสืบสวนขยายผลต่อไป
รองอธิบดีดีเอสไอกล่าวอีกว่า หลังจากนี้การตรวจสอบจะมีลักษณะคู่ขนานทั้งหน่วยงานดีเอสไอ และ ป.ป.ท. โดยจะสุ่มการตรวจสอบ รพ.ทุกภาคทั่วประเทศ รวมถึง รพ.ที่มีระบบการจ่ายตรง ที่ไม่ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุขตลอดจนโรงพยาบาลเอกชน สถานพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ขณะที่กรมบัญชีกลางจะตรวจสอบการเบิกจ่ายยาตามเวชระเบียบของโรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างจนอาจส่งผลกระทบต่อระบบการจ่ายตรงและสุขภาพ ของผู้ป่วย
**
สธ.ชงแนวทางคุมค่ายา ขรก.
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาสวัสดิการข้าราชการของ
สธ. กล่าวถึงกรณีผลสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ที่ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
(
ป.ป.ท.) พบ โรงพยาบาลสังกัด สธ.
2
แห่ง มีการทุจริต ว่า ตนยังไม่ทราบในรายละเอียดว่าทุจริตในลักษณะใด แต่ที่ผ่านมา สธ.ไม่ได้นิ่งเฉย
เนื่องจากได้มีการประชุมหารือเพื่อจัดทำแนวทางการควบคุมการใช้จ่ายยาในสิทธิ สวัสดิการข้าราชการให้ชัดเจนขึ้นกว่าที่ผ่านมา ทั้งการควบคุมการใช้ยา การกำหนดข้อบ่งชี้ต่างๆ รวมไปถึงการติดตามผลการใช้ยาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางดังกล่าวจะเข้าสู่การประชุมของคณะถกรรมการพิจารณาสวัสดิการข้า ราชการของ สธ.ในวันที่
11
เม.ย.นี้
**
ผอ.รพ.สรรพสิทธิ เต้น!รอแจง
น.ส.นุชนารถ เจียรวงศ์ตระกูล รองผอ.การฝ่ายบริหาร รพ.สรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้ นพ.มนัส กนกศิลป์
ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ เดินทางไปต่างประเทศ มีกำหนดจะเดินทางกลับในวันที่
11
เม.ษ.นี้ ซึ่งทาง รพ.ได้ประสานทางโทรศัพท์แจ้งให้
นพ.มนัส.ทราบเป็นเบื้องต้นแล้ว โดย ผอ.ได้รับทราบและจะชี้แจงในทุกเรื่องที่ทางดีเอสไอมาตรวจสอบ.