search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6516161
การเปิดหน้าเว็บ:9359219
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เอ็นจีโอไทยค้านเอฟทีเอยุโรป-อินเดียผูกขาดยา
  25 กุมภาพันธ์ 2554 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 



วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ลิงค์: www.bangkokbiznews.com

เอ็นจีโอไทยร่วมค้านเอฟทีเอสหภาพยุโรป-อินเดีย หวั่นผูกขาดผลิตยา กระทบประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทย ส่งผลกระทบผู้ป่วยเข้าไม่ถึง

สถาบันวิจัยระบบสาธารณ สุข - องค์กรหมอไร้พรมแดน มูลนิธิอ็อกแฟม เกรทบริเทน และเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าว “ผลกระทบจากเอฟทีเอ สหภาพยุโรป - อินเดีย ในมุมมองของเครือข่ายผู้ป่วยและคนทำงานด้านการเข้าถึงยาในไทย” ซึ่งในวันที่ 2 มีนาคม จะมีการประชุมใหญ่ที่กรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย เพื่อคัดค้านในประเด็นการผูกขาดของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ 

นายพอล คอว์ธอร์น ฝ่ายรณรงค์เข้าถึงยาจำเป็น องค์กรหมอไร้พรมแดน กล่าวว่า การเจรจาเอฟทีเอ สหภาพยุโรป - อินเดีย มีการเจรจามากว่า 1 ปีแล้ว และคาดว่าจะลงนามกันในกลางปีนี้ ซึ่งเราต่างกังวลว่าทางสหภาพยุโรปจะบีบให้มีการตกลงในประเด็นด้านยาที่มากไป กว่าทริบพลัสขององค์การอนามัยโลก โดยเฉพาะในเรื่องการผูกขาดข้อมูลยา เพราะอินเดียเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกยาสามัญที่สำคัญ รวมถึงยาต้านไวรัสเอดส์ โดยยาสามัญ 90% ส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้อินเดียไม่สามารถผลิตยาสามัญและยาต้าน ไวรัสเอดส์ได้เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาไม่มียาใช้ 

นายพอล กล่าวว่า สิ่งที่เรากำลังกังวลใจขณะนี้คือนายมานโมฮัน ซิงห์ ( Manmohan Singh) นายกรัฐมนตรี ประเทศอินเดียอยากให้มีการลงนามเอฟทีเอ โดยเร็วจึงมีการกดดันคณะเจรจาเอฟทีเอของอินเดีย ซึ่งเราเป็นห่วงว่าอาจมีการลงนามโดยรับข้อตกลงของทางสหาภาพยุโรป โดยเฉพาะการผูกขาดข้อมูลยา ดังนั้นทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศอินเดียจึงเตรียมรวมตัวเพื่อ จะประท้วงครั้งใหญ่ มีเครือข่ายจากทุกรัฐในอินเดียวร่วมประมาณ 2,500 คน

นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วม อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย เนปาล บังคลาเทศ และไทยเข้าร่วม โดยจะเดินจากใจกลางเมืองไปยังรัฐสภาอินเดีย เพื่อแสดงจุดยืนไม่เอาข้อตกลงทริบพลัส และการผูกขาดข้อมูลทางยา 

ทั้งนี้หากอินเดียลงนามข้อตกลง ไทยก็จะได้รับผลกระทบแน่นอน เนื่องจากไทยมีการนำเข้ายาจากอินเดียอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มยาต้านไวรัส ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่มียาใช้ นอกจากนี้หากสหภาพยุโรปสามารถลงนามกับอินเดียได้ ก็จะนำข้อตกลงดังกล่าวมาบีบบังคับให้ประเทศเล็กๆ อย่างไทยยอมรับด้วย ดังนั้นจึงต้องช่วยกันจับตา ขณะนี้ประเทศมาเลเซีน อินโดนีเซีย ต่างกังวลเรื่องนี้อย่างมาก โดยในมาเลเซียจะมีการจัดชุมนุมประท้วงเพื่อแสดงความเห็นคัดค้านในวันที่ 28 กพ. นี้

ด้านนายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล อ็อกซ์แฟม เกรทบริเทน กล่าวว่า การผูกขาดข้อมูลทางยานั้น จะทำให้ผู้ผลิตยาสามัญไม่สามารถผลิตยาได้ ซึ่งหากมีอายุที่ต่อจากสิทธิบัตร จะเท่ากับเป็นการต่ออายุการผูกขาดไปถึง 20 ปี ซึ่งกรณีนี้เคยมีการเจราจาในเอฟทีเอ สหรัฐ - จอร์แดนมาแล้ว และผลที่ตามมาคือทำให้ยามีราคาแพงขึ้น 20% อีกทั้งทำให้จอร์แดนไม่มียาสามัญใช้   

ขณะทีน.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เจ้าหน้าที่รณรงค์การเข้าถึงการรักษาขององค์การหมอไร้ พรมแดน-เบลเยียม (ประเทศไทย)   กล่าวว่า ข้อตกลงดังกล่าวยังทำให้การประกาศมาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา หรือซีแอลทำไม่ได้ เพราะแม้ประกาศไปก็จะไม่มียาสามัญนำเข้า ซึ่งที่ผ่านมาเราได้เข้าพบทูตสหภาพยุโรปเพื่อแสดงความเป็นห่วงกรณีดังกล่าว แล้ว นอกจากนี้ทางเครือข่ายผู้ป่วยเอชไอวีเอดส์จะเดินทางไปร่วมชุมนุมที่กรุงนิ วเดลี สำหรับความคืบหน้าการเจราจาเอฟทีเอไทย - สหภาพยุโรป ในปีแล้วรัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเพื่อรับฟังความเห็นเพื่อที่รวบรวมนำเสนอต่อ ครม. ว่าควรจะเจราจาหรือไม่ แต่ผลสรุปออกมาแล้วกลับไม่เคยนำเข้า ครม.พิจารณา แต่กลับนำไป ร่างกรอบการเจรจาและดูว่าสหภาพยุโรปต้องการเจราจาเรื่องใดบ้าง เพื่อนำเข้า ครม.โดยไม่ฟังเสียประชาชน ซึ่งเรื่องนี้เรากำลังติดตามอย่างใกล้ชิด