วันที่ : 7 มิถุนายน 2554
ที่มา : www.manager.co.th
ลิงค์ : http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000069525

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดงานแผน
งานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กล่าวถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เฝ้าระวังเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่
ซึ่งเป็นแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ มีฤทธิ์ทำร้ายผนังลำไส้
และกำลังระบาดในประเทศแถบยุโรปว่า
ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเชื้อดื้อยาในอัตราสูงมาก
เกิดจากการแพร่กระจายยาปฏิชีวนะในชุมชน
และบุคลากรทางสาธารณสุขจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีระดับความแรงมากขึ้นให้ผู้ป่วย
ซึ่งกรณีเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ ระบาดนั้น
ต้องมีการเฝ้าระวังติดตามว่าเชื้อดังกล่าวมีอันตรายและเป็นเชื้อที่ดื้อต่อ
ยาปฏิชีวนะหรือไม่ เพราะคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ
จึงมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคที่จะดื้อยาและมีอันตรายต่อผู้ป่วยมากขึ้น
จนเกิดเป็นซูเปอร์บั๊กที่ไม่มียารักษาได้
ขอให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาในระยะยาวด้วย
ต้องบอกข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้และป้องกันตนเอง
พร้อมมีแผนการรับมือทันเหตุการณ์ มีแนวทางป้องกันเชื้อโรคที่มีความรุนแรงในระยะยาว
รวมถึงการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งที่ผ่านมา กพย.ได้ร่วมมือกับนิสิต
นักศึกษาในสาขาวิชาแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์
จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้กับชุมชนในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าว
ผศ.ดร.ภญ.นิยดา กล่าวต่อว่า การ
ตื่นตัวเฝ้าระวังเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว
เป็นสัญญาณที่ดีกระตุ้นให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่าง
พร่ำเพรื่อในปัจจุบันนี้ ข้อสังเกตด้วยว่า หากมีอาการลำไส้อักเสบ ท้องเสีย
มีอาการปวดท้องรวมด้วย ไม่ควรซื้อยามากินเอง และไม่ควรกินยาหยุดถ่าย
เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อโรคจะสะสมและแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย
และควรรีบไปพบแพทย์ทันที
Keywords:
กพย., นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, อีโคไล, เชื้อดื้อยา
|