search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6521445
การเปิดหน้าเว็บ:9365168
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  กรมอนามัยปูพรมเฝ้าระวัง อีโคไล กระจายคู่มือ 150,000 เล่ม
  06 กรกฎาคม 2554
 
 


วันที่: 6 กรกฎาคม 2554
ที่มา: www.manager.co.th
ลิงค์: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000082829

กรมอนามัยเฝ้าระวังการ ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย อีโคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 จัดตั้งทีมจาก 12 ศูนย์เขต ลงพื้นที่ตลาดทั่วประเทศ สุ่มตรวจการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในผักสด ผลไม้ มือผู้สัมผัสอาหารและน้ำดื่ม น้ำใช้ พร้อมเตรียมกระจายคู่มือเลือกซื้อและล้างผักสด ผลไม้ จำนวน 150,000 เล่มให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป

นพ.สมยศ  ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการเฝ้าระวังและสร้างพฤติกรรมที่ดีป้องกันความเสี่ยงเชื้อ แบคทีเรียว่า กรมอนามัยมีแผนเตรียมความพร้อมในการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ทั่วไปที่รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 ในผักสด และผลไม้ โดยได้ประสานกับศูนย์อนามัยทั้ง 12 เขตลงพื้นที่ประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร ในตลาดสด 65 แห่ง แบ่งเป็นตลาดประเภทที่ 1 ที่มีโครงสร้างถาวร จำนวน 26 แห่ง และตลาดนัด จำนวน 39 แห่ง ซึ่งจะทำการเก็บตัวอย่างผักพร้อมบริโภคจำนวน 650 ตัวอย่าง ผลไม้พร้อมบริโภคจำนวน 325 ตัวอย่าง ตรวจการปนเปื้อนมือผู้สัมผัสอาหารที่จำหน่ายผักสด ผลไม้พร้อมบริโภคจำนวน 325 ตัวอย่าง และสุ่มตรวจคุณภาพน้ำบริการในตลาด น้ำดื่ม น้ำใช้จำนวน 130 ตัวอย่าง โดยจะเริ่มดำเนินการเฝ้าระวังตั้งแต่กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป

นพ.สมยศกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กรมอนามัยได้จัดพิมพ์คู่มือการเลือกซื้อและล้างผักสด ผลไม้ให้สะอาดปลอดภัย จำนวน 150,000 เล่ม สำหรับแจกจ่ายให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อ ล้าง และบริโภคผัก ผลไม้สดถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งจะช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียได้ โดยเนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วยข้อมูลที่ประชาชนผู้บริโภคสามารถปฏิบัติตาม ได้ง่าย เช่น การล้างผัก ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง และคลี่ใบถูหรือล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านผักสดอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้สารละลายอื่นๆ ในการล้างหรือแช่นานประมาณ 5 นาที เช่น น้ำเกลือ น้ำปูนคลอรีน น้ำส้มสายชู น้ำโซดา  ด่างทับทิม หรือน้ำยาล้างผัก แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด 1-2 ครั้ง  ซึ่งวิธีการต่างๆ เหล่านี้จะช่วยลดสารเคมีกลุ่มที่ไม่ดูดซึม ได้แก่ เมทธิลพาราไธออน/มาลาไธออน ได้ตั้งแต่ร้อยละ 6 ถึงร้อยละ 92 หรืออาจใช้แปรงขนอ่อนถูตามผิวซอกของผักสดและผลไม้บางชนิดจะช่วยทำความสะอาด ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ แม้ว่าการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล ชนิดรุนแรง โอ 104 จะยังไม่พบรายงานการแพร่ระบาดในประเทศไทย แต่ประชาขนต้องให้ความสำคัญและใส่ใจต่อการเลือกซื้อผักและผลไม้ในช่วงนี้ให้ มากขึ้น เพื่อความมั่นใจควรเลือกซื้อจากตลาดสดที่ได้ป้ายรับรองมาตรฐานตลาดสด น่าซื้อ ของกรมอนามัยซึ่งมีจำนวน 1,291 แห่งทั่วประเทศ อันจะข่วยสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคได้เป็น อย่างดีอธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด