search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6529402
การเปิดหน้าเว็บ:9373429
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ชง WHO ให้ยาต้าน HIV ช่วงผู้ป่วยแข็งแรง
  04 สิงหาคม 2554
 
 


วันที่: 4 สิงหาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ (www.manager.co.th)
ลิงค์:
www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000096914

 

เผยผลการวิจัยร่วม ไทย- กัมพูชาชี้ชัด ช่วงเวลาเหมาะสมแก่การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวี ต้องให้ในผู้ป่วยที่ยังแข็งแรง มี ซีดี 4 ต่ำกว่า 15 เพราะไม่เสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรง เตรียมชงให้ WHO ใช้เป็นแนวทางในการรักษาเด็กติดเชื้อทั่วโลก

วันนี้ (4 ส.ค.) ที่สภากาชาดไทย ศ.กิตติคุณ นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทย-ออสเตรเลีย-เนเธอรฺ์แลนด์ เพื่อการศึกษาวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (HIV-Nat ) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานโครงการวิจัย Predict เรื่อง ควรรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวี เมื่อไหร่จึงจะเหมาะสม ว่า จากการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการโครงการดังกล่าว จาก สถาบันวิจัยสาธารณสุขแห่งชาติสหรัฐอเมริกา นั้น นักวิจัยจากประเทศไทย และกัมพูชา ก็ได้ร่วมมือกันเพื่อดำเนินการ จนได้ผลสรุปที่ชัดเจน ก่อนจะนำไปขยายผลในการรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ผ่านการผลักดันให้ องค์การอนามัยโลก (WHO) พิจารณาใช้เป็นแนวทางในการรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวี ที่มีกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก

ด้าน รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ กุมารแพทย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแพทย์วิจัยประจำกลุ่มวิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ได้มีการศึกษาในสถานพยาบาล 9 แห่ง ในประเทศไทย 7 แห่ง ประกอบด้วย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย รพ.นครพิงค์ จ.เชียงใหม่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) รพ.พระปกเกล้า จ.จันทบุรี รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี จ.ชลบุรี ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย และสถาบันบำราศนราดูร กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสถานพยาบาลในกัมพูชา 2 แห่ง คือ รพ.เด็กแห่งชาติกัมพูชา และศูนย์วิจัยคลินิกเกี่ยวกับโรคเอดส์ โดยทำการศึกษาในเด็กติดเชื้อเอชไอวี อายุ 1-12 ปี และยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี จำนวน 300 คน โดยแบ่งเด็กเป็น2 กลุ่มๆ ละ 150 คน โดย กลุ่มแรกเป็นผู้ป่วยที่ มีภูมิคุ้มกันซีดี 4 อยู่ที่ 15-24% เริ่มกินยาต้านไวรัสเอชไอวีเลย และกลุ่มที่ 2 ติดตามอาการวัดภูมิคุ้มกันซีดี 4 ทุก 3 เดือน และเริ่มกินยาต้านไวรัส เมื่อภูมิคุ้มกัน ซีดี 4 ต่ำกว่า 15% เมื่อป่วย ซึ่งแพทย์จะทำการติดตามต่อเนื่องในผู้ป่วยทุกคน เป็นเวลา 3 ปี โดยหลังจากติดตามเด็ก พบว่า เด็กกลุ่มแรกมีอาการป่วยจากโรคเอดส์ จำนวน 3 คน ขณะที่ กลุ่ม 2 ที่มีเด็กป่วยจากเอดส์ จำนวน 3 คน เช่นเดียวกัน

 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เด็กทั้ง 2 กลุ่ม มีผลการศึกษาไม่ต่างกัน ดังนั้น การรักษาเด็กติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังแข็งแรงดี โดยการติดตามใกล้ชิดและเริ่มยาต้านไวรัสเมื่อซีดี 4 ต่ำลงกว่า 15 เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่มีความปลอดภัยและไม่เสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรง ทั้งนี้ย้ำว่า ต้องเป็นเด็กที่ติดเชื้อและยังไม่มีอาการป่วยเท่านั้น แต่หากเด็กที่เริ่มมีอาการป่วยแล้ว แม้ภูมิคุ้มกันซีดี 4 จะสูงก็ควรรักษาทันทีรศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าว

      

ด้าน ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ กล่าวว่า สภากาชาดไทย ได้นำเสนอให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รับทราบแล้ว โดยปกติ จะมีการปรับปรุงนโยบายแนวทางการรักษาปีละ 1 ครั้ง เชื่อว่า ในปีที่จะถึงนี้ จะนำผลวิจัยนี้ไปเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาด้วย

อนึ่ง สำหรับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก เป็นผู้ติดเชื้อวัยเด็กประมาณ 2 ล้านคน ส่วนประเทศไทยติด ราว 6 แสนคน เป็นเด็กราว 2 หมื่นคน โดยสาเหตุการติดเชื้อมาจากแม่