search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6534068
การเปิดหน้าเว็บ:9378587
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ที่ประชุมวัคซีนเอดส์ ดันโครงการทดลองวัคซีนเอดส์ในไทยหลังพบทำปฏิกิริยาในร่างกายเพิ่ม เล็งทดลองกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ
  13 กันยายน 2554
 
 


วันที่: 13 กันยายน 2554
ที่มา: เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000116571


วันนี้ (13 ก.ย.) นพ.ศุภชัย ฤกษ์งาม หัวหน้าทีมวิจัยโครงการวัคซีนเอดส์ระยะ 3 กล่าวในงานประชุมสุดยอดสำหรับนักวิจัย ผู้สนับสนุนทุนวิจัย และผู้วางแผนนโยบายด้านเอดส์ การประชุมวัคซีนเอดส์ประจำปี 2554 กทม. (AIDS Vaccine 2011 Conference ) ว่า ปีนี้ มีประเด็นที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจในเรื่องผลการทดลองวัคซีนเอดส์ อาร์วี 144 ซึ่งเคยทดลองในประเทศไทย เมื่อ 2 ปีก่อน โดยพบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกัน 31.2% และจากการวิจัยร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการค้นพบตำแหน่งที่วัคซีนทำปฏิกิริยาในร่างกาย เรียกว่า แอนติบอดี้ IGGV1, V2 ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด ซึ่งถือเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ที่จะสามารถบอกได้ว่าการทำงานเรื่องวัคซีนจะเดินหน้าต่อไปในทิศทางใด และเป็นความหวังของนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำการทดลองต่อ

"การทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในเดือน ต.ค.-พ.ย.ที่จะถึงนี้ จะเริ่มโครงการระยะต่อไป โดยจะเรียกอาสาสมัคร 160 คนเดิมมาตรวจหาภูมิคุ้มกันในร่างกาย ว่า ยังมีเหลือหรือไม่ และฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันซ้ำอีก 2 ครั้ง โดยจะมีการตรวจร่างกายเพื่อหาปฏิกิริยาของวัคซีนต่อร่างกาย และเยื่อเมือกในช่องคลอด เพื่อตรวจหาว่าวัคซีนจะทำปฏิกิริยาในส่วนดังกล่าวเพื่อช่วยป้องกันเชื้อ เอดส์ได้หรือไม่ ซึ่งถือเป็นการทำโครงการต่อเนื่อง" นพ.ศุภชัย กล่าว

นพ.ศุภชัย กล่าวว่า ขณะนี้ทั่วโลกมุ่งเป้ามาที่โครงการวัคซีนที่ทำการทดลองในประเทศไทย เพราะประสิทธิภาพของวัคซีน 32.1% แม้ว่าจะยังนำไปผลิตวัคซีนไม่ได้ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นในการค้นพบที่สำคัญที่นักวิทยาศาสตร์จะทำงานต่อไปใน อนาคต แม้ว่าอาจจะยังคาดหวังว่าประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ยังไม่ ได้ก็ตามนอกจากโครงการที่ทำในอาสาสมัครชุดเก่า ยังมีโครงการที่มีความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น คณะเวชศาสตร์เขตร้อน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งจะทำโครงการทดลองขนาดใหญ่ขึ้น โดยเลือกพื้นที่ในเมืองขนาดใหญ่ และใช้จำนวนอาสาสมัครมากขึ้น คือ 400 คน อายุระหว่าง 18-45 ปี โดยทดลองในกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อย และใช้วัคซีนตัวเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างร่างขั้นตอนการวิจัย คาดว่า จะเริ่มโครงการได้ภายในปีหน้า