search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6534043
การเปิดหน้าเว็บ:9378536
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ชี้แก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร ต้องใช้ฉบับภาคประชาชนเป็นตัวตั้ง
  12 กันยายน 2554
 
 


วันที่: 12 กันยายน 2554
ที่มา: เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
ลิงค์: www.tcijthai.com/citizen-journalist-story/796



ลั่นต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร จี้กรมทรัพย์สินทางปัญญาใช้คู่มือตรวจสอบสิทธิบัตรสกัด “สิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด” พร้อมพัฒนาฐานข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อให้สืบค้นง่าย

วันนี้ (12 ก.ย.54) ตัวแทนเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทยจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 50 คนได้มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อ พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. .... ในเวที “พ.ร.บ.สิทธิบัตร... การแก้ไข...ใคร (ควร) ได้ประโยชน์?” (ปล่อยผีสิทธิบัตร ผูกขาดไม่สิ้นสุด ใคร... ตายก่อน) จากนั้นได้ร่วมกันแถลงข่าว

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ กล่าวว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนากฎหมายสิทธิบัตร แต่ไม่มีตัวแทนของผู้ป่วยหรือผู้บริโภคเลย ขณะที่มีตัวแทนของผู้ทรงสิทธิเป็นส่วนใหญ่ และยังมีนักกฎหมายที่ปรึกษาบริษัทยาข้ามชาติอยู่ถึง 3 บริษัท
 
“จากการเจรจาภายใน กรมทรัพย์สินทางปัญญารับปากที่จะแต่งตั้งตัวแทนเครือข่ายผู้ป่วยเข้าไปเพิ่ม เติม ซึ่งทางเราได้เสนอชื่อ นายอนันต์ เมืองมูลไชย กรรมการมูลนิธิเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ อย่างไรก็ตาม เราต้องการให้คณะอนุกรรมการฯ นำเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.สิทธิบัตรฉบับภาคประชาชนเป็นตัวตั้งในการพิจารณาแก้ไขด้วย เพราะเนื้อหาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเคยหยิบยกขึ้นมานั้น ส่วนใหญ่เป็นการแก้ไขกฎหมายที่เกินไปกว่าความตกลงทริปส์ (TRIPS Agreement) ซึ่งจะสร้างภาระกับประเทศ และส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน โดยเฉพาะการตัดสิทธิการคัดค้านก่อนการออกสิทธิบัตร (Pre-grant Opposition) ที่จะยิ่งทำให้สิทธิบัตรด้อยคุณภาพได้ผูกขาดทำกำไรเกินควร”
 
นายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า วันนี้ทางเครือข่ายคนทำงานด้านเอดส์และเครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ได้เชิญนักวิจัยมานำเสนอเรื่องสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด (Evergreening Patent) แล้ว ค่อนข้างตกใจกับข้อค้นพบที่ว่า มีคำขอรับสิทธิบัตรในรอบ 10 ที่ผ่านเข้าข่ายสิทธิบัตรไม่มีที่สิ้นสุดถึง 96% ยิ่งรวมกับความพยายามของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่จะตัดกลไกคัดค้านก่อนการออก สิทธิบัตรออกไป นั่นเท่ากับว่าประเทศไทยกำลังเผชิญกับการผูกขาดของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติที่ หนักหน่วงที่สุด

ดังนั้น ในการหารือกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในวันพรุ่งนี้ (13 ก.ย.54) ทางเครือขายฯ จะขอให้กรมทรัพย์สินฯ รับคู่มือที่นักวิจัยพัฒนาขึ้นไปปฏิบัติ เพื่อป้องกันสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้นสุด และในการแก้ไข พ.ร.บ.จะต้องขยายเวลาการคัดค้านไปเป็น 1 ปีจาก 90 วันแทนกฎหมายเดิม อีกทั้งต้องมีตัวแทน อย.หรือ สปสช.เข้าไปอยู่ในคณะอนุกรรมการเคมี ในคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อช่วยพิจารณาการให้สิทธิบัตร และที่สำคัญคือ การพัฒนาฐานข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่าย
 
“ขณะนี้มีงานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงปัญหาของสิทธิบัตรที่ไม่มีที่สิ้น สุด กรมทรัพย์สินฯ ต้องตอบให้ได้ว่า คู่มือที่กำลังจะประกาศใช้จะแก้ปัญหา evergreening เช่นนี้อย่างไร มีประสิทธิภาพแค่ไหน โดยเฉพาะคำขอเรื่องการใช้และข้อบ่งใช้ที่ 2, สูตรตำรับและส่วนประกอบ, ตำรับยาสูตรผสม และขนาด/ปริมาณการใช้ หากทางกรมทรัพย์สินฯ ให้คำตอบที่ชัดเจนไม่ได้ หรือยังยืนยันจะปล่อยให้เป็นวินิจฉัยของผู้ตรวจสอบเช่นที่ผ่านมา เราคงต้องขอหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์”
ทั้งนี้ ข้อมูลจากงานวิจัยสิทธิบัตรยาที่จัดเป็นสิทธิบัตรไม่มีที่สิ้นสุดในประเทศ ไทย และการคาดประมาณผลกระทบที่เกิดขึ้น คณะผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ทางยา ในระหว่าง ปี พ.ศ.2543 - 2553 จำนวน 2,034 ฉบับ พบว่า มีคำขอรับสิทธิบัตร ร้อยละ 96 ที่มีลักษณะอยู่ในเงื่อนไขที่เป็น evergreening patent โดยพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่คือ คำขอรับสิทธิบัตร ข้อบ่งใช้/การใช้ ร้อยละ 73.7 สูตรตำรับและส่วนประกอบ ร้อยละ 36.4 และ Markush Claimร้อยละ 34.7
 
ทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขได้ทำหนังสือถึงกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อนำเสนอผลการวิจัยดังกล่าวในฐานะที่เป็นองค์กรร่วมสนับสนุนการวิจัย และมีข้อเสนอแนะให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณาคู่มือที่คณะผู้วิจัยพัฒนา ขึ้น โดยนำไปใช้ในการปรับปรุงระบบการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งกรมฯ กำลังดำเนินการพัฒนาระบบอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการพัฒนาแก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตรให้มีความเป็นธรรมมากขึ้น ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ