search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6534065
การเปิดหน้าเว็บ:9378574
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สธ.ให้กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยผลิตยาหม่องสูตรพิเศษแจกผู้ประสบภัยน้ำท่วม
  18 กันยายน 2554
 
 


วันที่: 18 กันยายน พ.ศ. 2554
ที่มา: เว็บไซต์มติชนออนไลน์
ลิงค์: www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316326741
   

เมื่อวันที่ 18 กันยายน นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หลังจากเกิดน้ำท่วมขังตามจังหวัดต่างๆ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยฯผลิตยาหม่องสมุนไพรสูตรพิเศษให้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมใช้บรรเทาอาการได้หลายอย่าง มีตัวยา 3 ชนิด ได้แก่ ไพลมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย ตะไคร้หอมป้องกันยุงกัด และน้ำมันมะพร้าวลดการอักเสบและบำรุงผิว ผลิตจำนวน 50,000 ขวด และผลิตครีมใบพลู ใช้บรรเทาอาการแพ้แมลงสัตว์กัดต่อย แก้ลมพิษ จำนวน 500 หลอด อาทิ ข่าทิงเจอร์แก้น้ำกัดเท้า จำนวน 400 ขวด ทองพันชั่งทิงเจอร์ทาแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน อักเสบ 400 ขวด คาราไมน์จากเสลดพังพอนบรรเทาอาการผดผื่นคัน 500 ขวด ครีมพญายอแก้งูสวัด 500 หลอด และยาหม่องทาแก้ปวดเมื่อย 6,000 ขวด

นอกจากนี้ยังให้ผลิตยาสมุนไพร ชุดยาภูมิปัญญาไทย เพื่อนำมาช่วยเหลือครอบครัวผู้ประสบภัยน้ำท่วม ยาดังกล่าวประกอบด้วยยา 5 ชนิด ซึ่งผู้สูงอายุรู้จักกันดี ได้แก่ 1.ยาฟ้าทลายโจร บรรเทาอาการเจ็บคอ ไข้หวัด แก้ท้องเสีย 2. ยาขมิ้นชัน บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ 3.ยาจันทน์ลีลา แก้ไข้ตัวร้อน 4.บาล์มตะไคร้ ทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของผิวหนัง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ป้องกันยุง และ 5. ครีมพญายอ ทาบรรเทาอาการของเริมและงูสวัด และมียาหม่องทาแก้ปวดเมื่อยด้วย เบื้องต้นในวันนี้ได้ให้หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ที่ อ.บางปะอิน นำไปให้ผู้ประสบภัยแล้วจำนวน 300 ชุด สำรองไว้อีก 1,000 ชุด

นายวิทยากล่าวว่า ที่ผ่านมา สธ.ส่งยาและเวชภัณฑ์จากส่วนกลางไปช่วยประชาชน โดยเป็นยาชุดช่วยผู้ประสบภัย 827,500 ชุด ยาตำราหลวง 35,500 ชุด ยารักษาน้ำกัดเท้า จำนวน 151,000 หลอด และสำรองไว้ที่ส่วนกลางอีก 600,000 ชุด รวมทั้งยารักษาน้ำกัดเท้า

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รักษาผู้เจ็บป่วยในพื้นที่ประสบ ภัยรวม 1,874 ครั้ง รวมจำนวนผู้รับบริการสะสม 246,757 ราย โรคที่พบ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำกัดเท้า ไข้หวัด ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนัง และโรคเครียด ไม่มีโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม