search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6522272
การเปิดหน้าเว็บ:9366027
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  นศ.เภสัชฯ 18 มหา`ลัย รณรงค์สร้างภูมิคุ้มกันให้น้องใหม่เฟรชชี่
  27 พฤษภาคม 2554
 
 


วันที่: 27 พฤษภาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000063153

จากปัญหาพฤติกรรมการใช้ยาคุมฉุกเฉินที่แพร่หลายในวัยรุ่น ตลอดจนมีการใช้ไม่ถูกต้อง การมีความเชื่อว่า ยาคุมฉุกเฉินคือยาคุมฉุกเฉินแทนการใช้ถึงยางอนามัยที่เป็นวิธีการป้องกันการ ตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและทำให้ลดความเสี่ยงจากโรคเอดส์ และติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วยเหตุนี้ แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วม กับ สำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมกับสหพันธ์นิสิต นักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) ประกอบด้วยสโมสรนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ ทั้ง 18 สถาบัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรณรงค์ให้นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ซึ่งอยู่ในฐานะของวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาคุมฉุกเฉินที่ไม่ เหมาะสม และอยู่ในฐานะที่อนาคตจะเป็นเภสัชที่ต้องดูแลสวัสดิภาพในการใช้ยาของประชาชน ให้ได้รับทราบปัญหาและตระหนักในบทบาทของเภสัชที่จะต้องเป็นผู้ส่งมอบยาให้ กับประชาชนอย่างเหมาะสม

ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการ กพย. กล่าว่า แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ได้จัดกิจกรรมการรณรงค์เพื่อการใช้ยาคุมฉุกเฉินที่เหมาะสมร่วมกับนิสิต นักศึกษา ดำเนินการร่วมไปกับ “กิจกรรมรับน้อง”ของสนภท. โดยเน้นที่จะให้นิสิตนักศึกษาได้ทราบถึงทักษะชีวิตในหลายด้าน รวมถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ ปัญหาที่เกี่ยวกับการป้องกันการคุมกำเนิดที่ทำให้เกิดควาเสี่ยงและไม่ ปลอดภัยในการใช้ โดยเฉพาะการใช้ยาคุมฉุกเฉินแบบผิดๆ ที่เรียนรู้ตามกันมาจากกลุ่มเพื่อน เช่น การใช้เกินกว่า 4 เม็ดภายในรอบเดียว ซึ่งเป็นปริมาณที่เกินกว่าที่กำหนดไว้จนทำให้เกิดปัญหาอาการข้างเคียงจากยา หรือแม้แต่มีการตั้งครรภ์ตามมา เพราะประสิทธิภาพผลของยาไม่เต็ม 100%

 “กิจกรรมครั้งนี้เราเน้นการ สร้างความตระหนักต่อปัญหาการกระจายยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งช่องทางหนึ่งในการกระจายนาที่วัยรุ่นพึ่งพิงก็คือ ร้านยา โดยเฉพาร้านยาที่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานศึกษา การที่นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์จะต้องเติบโตเป็นเภสัชในอนาคต และจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหาทั้งในด้านการให้ความรู้ความเข้าใจ แก่วัยรุ่น หรือ การเป็นแหล่งกระจายยาที่ต้องคำนึงความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ที่มารับ บริจาคที่ร้านยาให้สมศักดิ์ศรีวิชาชีพ"

ด้านตัวแทนนิสิต นักศึกษาเภสัชศาสตร์ “เมย์” เพียงขวัญ ใจแก้ว นักศึกษาชั้นปี 4คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า รู้สึกดีใจที่ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของวัยรุ่นสมัยนี้ โดยเฉพาะการใช้ยาคุมอย่างถูกๆ ผิดๆ เพราะจะส่งผลกระทบในภายหลังได้

"ด้วยบทบาทหน้าที่ของนิสิต นักศึกษาเภสัชศาสตร์จำต้องมีความรู้เรื่องยาให้มากที่สุด ยิ่งเราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเพื่อนวัยรุ่น ทำให้เราได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำที่ดีให้กับเพื่อนๆ ได้ ยิ่งในสมัยนี้จะห้ามเพื่อนๆ วัยรุ่นไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรก็คงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉินถือว่าสำคัญมาก หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักยาคุมฉุกเฉินดีสักเท่าไร หรือเมื่อใช้แล้วไม่รู้วิธีการใช้และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเภสัชที่ดี่เมื่อเรารู้ เราต้องขยายโอกาส และความรู้ให้กับเพื่อน ทำให้การใช้ยาเป็นไปในทางที่ดี ให้เพื่อนได้ทราบว่า ควรจะใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องและถูกวิธี"

ทั้งนี้ เมย์ ขอทำหน้าที่(ว่าที่)เภสัชกรที่ดี ด้วยการบอกถึงสรรพคุณของการใช้ยาคุมฉุกเฉิน และผลข้างเคียงที่ผู้ใช้ต้องระวัง “ยา คุมฉุกเฉินชนิดนี้จะสามารถลดความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ได้เพียง 85-89% เท่านั้น และจะใช้ในกรณีผู้ที่ถูกข่มขืนกระทำชำเรา ลืมฉีดยาคุม ถุงยางอนามัยรั่วแตก ห่วงอนามัยหลุด ลืมทานยาคุมกำเนิดเกิน 3 วันหรือผู้ใช้นับระยะปลอดภัยผิด การใช้ยาคุมกำเนิดต้องรับประทานให้ครบ 2 เม็ด แต่ถ้ารับประทานไม่ครบ จะทำให้มีโอกาสล้มเหลวในการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ได้ และไม่แนะนำให้ทานเกิน 2 แผง 4 เม็ดภายในรอบเดือนเดียว อีกทั้งการใช้ยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ จะทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดคือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย เจ็บคัดเต้านม และประจำเดือนมาไม่ปกติ และที่สำคัญยานี้ใช้ทำแท้งไม่ได้ผล และไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้”

ท้ายนี้ บทบาทของเภสัช หน้าที่ของเภสัชที่ดี ในมุมมองของเมย์ เธอบอกว่า นอกจากความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาแล้วบุคลิกภายนอกนับว่าเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน “หลายคนอาจจะมองว่า ภาพลักษณ์ ไม่สำคัญเท่ากับความรู้ที่มี แต่เมื่อเวลาที่เราพบกับผู้ป่วย หน้าตาและการแต่งกาย เราต้องเรียบร้อย สะอาด มีบุคลิกที่น่าเชื่อถือให้กับผู้ป่วยหรือประชาชนทั่วไปได้”

 “กิ๊บ” รุ่งรวี ชลศิริพงษ์ นักศึกษาน้องใหม่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เอ่ยว่า วันนี้นอกจากจะได้เข้าร่วมกิจกรรมน้องใหม่ของชาวเภสัชฯ ทั่วประเทศ ได้รู้จักเพื่อนใหม่ และรุ่นพีเภสัชฯ แต่ละสถาบัน ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา โดยเฉพาะเรื่องยาคุมฉุกเฉิน “ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ น้องใหม่ทุกคนจะได้รับความรู้จากวิทยากรต่างๆ เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมของการประกอบวิชาชีพ รวมไปถึงความสำคัญในการใช้ยา และหน้าที่ของเภสัชฯ ในการจ่ายยาแก้ผู้ปวย สำหรับความรู้ที่ได้จากวิทยากรเรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉินนั้น ทำให้เรารู้ถึงวิธีการใช้ ผลกระทบหลังการใช้ยา ที่ทำให้เราสามารถส่งต่อความรู้ให้กับเพื่อนๆ คนอื่นที่ได้เหมือนกัน”