search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6629806
การเปิดหน้าเว็บ:9481003
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  หวั่นเชื้อ “ซูเปอร์บั๊ก” ระบาดในไทยเหมือนอินเดีย
  04 พฤษภาคม 2554
 
 


วันที่: 4 พฤษภาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000054842

แพทย์หวั่น “ซูเปอร์บั๊ก” ระบาดในไทย เหมือนอินเดีย ชี้ ไทยต้องเร่งเฝ้าระวัง ด้านเครือข่ายพ่อแม่ ชี้ ลูกวัยรุ่นแห่ซื้อยาแก้สิวอักเสบกินพร่ำเพรื่อ-เพาะเชื้อดื้อยา

วันนี้ (4 พ.ค.)  ในการประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 เรื่อง การจัดการปัญหาเชื้อดื้อยา ที่โรงแรมทวินทาวเวอร์ กทม.ซึ่งจัดโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์กร ReAct, Uppsala University, Sweden โดยมีตัวแทนนักวิชาการแพทย์ และเภสัชกรจากหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วม

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม คณะ แพทยศาสตร์  รพ.รามาธิบดี ในฐานะเลขาธิการสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย  กล่าว ว่า ปัญหาวัยรุ่นและประชาชนทั่วไปซื้อยาในกลุ่มยาปฏิชีวนะมากินเอง เป็นการบ่มเพาะค่านิยมการซื้อยามากินอย่างพร่ำเพรื่อ และเป็นแหล่งเพาะเชื้อดื้อยาในร่างกายตนเอง จะเห็นจากสถานการณ์เชื้อดื้อยา เช่น เชื้ออีโคไล (E.coli) เป็นแบคทีเรียที่มีอยู่ในลำไส้ แต่เมื่อมีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม เช่น กินยาไม่ครบตามกำหนด กินยาที่ออกฤทธิ์กว้างเกินไป จะส่งผลให้เชื้อดังกล่าวเกิดการดื้อยา ซึ่งหากถึงขั้นดื้อต่อยา เซฟาโลสปอริน(cephalosporins) ก็ต้องหันไปใช้ยาในกลุ่ม คาร์บาพีแนม (carbapenems) รักษาแทน หากใช้ยานี้รักษาไปนานๆ จะเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยาตัวใหม่ ที่เรียกว่า “ซูเปอร์บั๊ก” ซึ่งยังไม่มียาใดที่รักษาได้ โดยขณะนี้ “ซูเปอร์บั๊ก” ได้ แพร่กระจายอยู่ในอินเดีย ส่งผลให้รัฐบาลของประเทศอังกฤษและสวีเดน เตือนไม่ให้ชาวอังกฤษและสวีเดนมารักษาพยาบาลในประเทศอินเดีย เอเชียใต้ และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะเกรงว่าจะได้รับเชื้อ
          
“ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มมีผู้พบเชื้อกลุ่ม Enterobacteriaceae ที่ดื้อต่อยาคาร์บาพีแนมแล้ว แต่ยังพบไม่มาก  ซึ่งเชื้อชนิดนี้อยู่ในลำไส้ จึงเป็นเหตุที่อาจก่อปัญหารุนแรงได้ในอนาคต ไม่เฉพาะแต่สุขภาพเท่านั้น อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้วย หากมีชาวต่างชาติมาท่องเที่ยว หรือมารับบริการทางการแพทย์ในประเทศไทยแล้ว เกิดติดเชื้อเหล่านี้ จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวและรับการรักษาใน ประเทศไทย ดังนั้นปัญหาเชื้อดื้อยาในประเทศและภูมิภาคนี้ จึงอยู่ในขั้นวิกฤตที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวังและรณรงค์ทั้งในส่วนของบุคลากร ทางด้านสุขภาพ และประชาชนทั่วไปอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทางที่ผู้ป่วยต้องเข้าใจถึงขั้นตอนการรักษาและปฏิบัติตามคำแนะนำ ของแพทย์ ไม่ใช่จะขอให้แพทย์สั่งยาปฏิชีวนะให้ทันทีเมื่อป่วยเป็นหวัด หรืออาการที่ยัง ไม่จำเป็น  ซึ่งเป็นการใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล และควรทราบว่ายาปฏิชีวนะ ไม่ใช่ยาแก้อักเสบ ทั้งนี้ บุคลากรทางด้านสุขภาพก็ต้องตระหนัก และสั่งใช้ยาอย่างเหมาะสมด้วย ตลอดจนไม่เรียกยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ ซึ่งจะทำให้ประชาชนสับสน” ผศ.นพ.กำธร กล่าว

ด้าน นางกีรติกา แพงลาด เครือข่ายผู้ปกครอง มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว กล่าวว่า จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายผู้ปกครอง พบประเด็นที่น่าตกใจคือ แต่ละเดือนพ่อแม่ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายให้ลูกสาววัยรุ่นไปใช้ในการรักษาสิว โดยมีเด็กวัยรุ่นจำนวนมากนิยมซื้อยาปฏิชีวนะมากินเมื่อเกิดสิวอักเสบ และเมื่อสิวยุบหายก็หยุดกิน ทั้งที่ยังกินยาไม่ครบชุดการรักษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง นำไปสู่การเพาะเชื้อดื้อยา ในขณะเดียวกัน ผู้ปกครองและคณะครูในโรงเรียนจำนวนไม่น้อย ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มักคิดว่า เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยต้องกินยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น ในห้องพยาบาลของโรงเรียนบางแห่งก็มีการจ่ายยาปฏิชีวนะให้เด็กด้วย ซึ่งพ่อแม่เองก็คิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ แต่นิยมไปซื้อยามากินเอง ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย  โดยหารู้ไม่ว่า เรื่องเล็กๆ เหล่านี้แหละ ที่เรียกว่า การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งจะก่อผลร้ายตามมาอย่างใหญ่หลวง