search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6522302
การเปิดหน้าเว็บ:9366063
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  ยาปฏิชีวนะเกลื่อนร้านชำ ชาวบ้านซื้อกินชี้อันตราย
  16 พฤษภาคม 2554
 
 


วันที่: 16 พฤษภาคม 2554
ที่มา: เว็บไซต์ไทยโพสต์
ลิงค์: www.thaipost.net/x-cite/160511/38623

สสส.-กพย. เผยผลวิจัยสุ่มตรวจ 8 จังหวัดทั่วประเทศ พบขายยาปฏิชีวนะในร้านชำหมู่บ้าน 100% ดันยุทธศาสตร์ 3 ส. เฝ้าระวังระบบยาในสังคมไทย

เภสัชกรสมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวในการประชุมวิชาการระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 2 เรื่องการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งจัดโดยแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เกี่ยวกับสถานการณ์การขายยาปฏิชีวนะในร้านชำ ว่า พฤติกรรมของคนไทยในการซื้อยาปฏิชีวนะมากินเองเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เป็นพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพที่มีความรุนแรงมากขึ้น จากการสำรวจการขายยาในหมู่บ้าน โดยเก็บข้อมูลจาก 8 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร ชัยภูมิ เชียงราย อุทัยธานี อ่างทอง ปราจีนบุรี ชุมพร และสงขลา จังหวัดละกว่า 20 หมู่บ้าน รวม 195 หมู่บ้าน มีร้านชำ 775 แห่ง กองทุนยาหมู่บ้าน 96 แห่ง พบว่าร้านชำในทุกหมู่บ้านมีการขายยาปฏิชีวนะ หรือคิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ของร้านชำในหมู่บ้าน โดยตัวยาที่พบมาก ได้แก่ Tetracycline (เตตร้าไซคลิน) 85.1% และ Peniciline (เพนนิซิลิน) 80.5% ของหมู่บ้านทั้งหมด ทั้งนี้ การขายยาปฏิชีวนะในร้านชำเป็นการกระทำผิดตามกฎหมายยา ซึ่งส่งผลให้เกิดการใช้ยาไม่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง และทำให้ชาวบ้านเสี่ยงอันตรายจากยา ทั้งการแพ้ยาและการเกิดเชื้อดื้อยา

"ที่สำคัญยังพบกรณียาที่มีรูปลักษณ์คล้ายกัน แต่เป็นยาต่างชนิดกัน ซึ่งชาวบ้านเรียกชื่อเหมือนกันหมดว่าเป็นยาเพนนิซิลิน ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดที่เป็นอีกสาเหตุสำคัญของการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม ดังนั้นจำเป็นต้องแก้ปัญหาในระบบการกระจายยาและการขึ้นทะเบียนตำรับ ควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนได้รู้วิธีใช้ยา อย่างเหมาะสมด้วย” ภก.สมศักดิ์กล่าว           

ด้าน ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการ กพย. กล่าวว่า กพย.ร่วมกับภาคีเครือข่ายกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพื่อสร้างกลไกการ เฝ้าระวังการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ภายใต้กรอบแนวคิดยุทธศาสตร์ 3 ส. คือ "สื่อสารที่หลากหลาย สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง และเสริมภูมิคุ้มกันที่เท่าทันของชุมชน” ซึ่ง กพย. มีบทบาทเป็นหน่วยเฝ้าระวังระบบยา (Drug System Watchdog) คอยเฝ้าระวังและเตือนภัยให้แก่สังคม หากพบสถานการณ์การใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ยา ก็จะส่งสัญญานกระตุ้นเตือนประชาชนและส่งต่อข้อมูลให้แก่องค์กรที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไข โดยมีเป้าหมายการทำงานปี 2555-2557 ดังนี้ 1.สนับสนุนการใช้ชื่อยาสามัญร่วมกับการใช้ยาในบัญชียาหลัก 2.การขับเคลื่อนเพื่อปรับระบบการขึ้นทะเบียนตำรับยา และทบทวนทะเบียนตำรับยา เพราะมียาหลายตัวที่มีอันตราย แต่ยังได้รับการขึ้นทะเบียน และประชาชนสามารถซื้อใช้อย่างแพร่หลาย 3.รณรงค์เพื่อลดปัญหาการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม การโฆษณาชวนเชื่อแก่ประชาชน 4.การจัดการปัญหาระบบยาในชุมชนตั้งแต่การคัดเลือก จัดหา การกระจายยา และการใช้ยา และ 5.การจัดการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาและการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม โดยในวันที่ 30 พ.ค.-1 มิ.ย.นี้ กพย.จะจัดประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายในการวางแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว.