search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6522842
การเปิดหน้าเว็บ:9366631
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  อาหารญวน,ส้มตำล้างผักสกัดอีโคไล
  08 มิถุนายน 2554
 
 


วันที่: 8 มิถุนายน 2554
ที่มา: เว็บไซต์ไทยโพสต์
ลิงค์: www.thaipost.net/x-cite/080611/39831

กรมอนามัยจัดทำแผ่นพับ 1 แสนชุด แนะนำร้านอาหารทั่วประเทศ มุ่งเน้นอาหารเวียดนาม ร้านส้มตำ ถึงการล้างผักสดให้ปลอดภัยก่อนนำมาบริโภค ป้องกันการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล โอ 104 ชี้รุนแรงกว่าอหิวาต์

นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนนี้ ถึงมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล ชนิดโอ 104 ว่า ล่าสุดได้สั่งพิมพ์คู่มือ “ผักสดปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย” เพื่อแนะนำการทำความสะอาดผัก-ผลไม้ให้ถูกหลักอนามัย จำนวนทั้งสิ้น 1 แสนฉบับ แจกจ่ายไปยังสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศนำไปทำความเข้าใจกับร้านอาหารในท้อง ถิ่นของตนเอง โดยให้เน้นไปที่ร้านอาหารเวียดนามและร้านส้มตำ รวมถึงร้านอาหารทั่วไปที่มีเมนูอาหารรับประทานกับผักสด ต้องล้างผักให้ถูกวิธีเพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ

รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การล้างผักที่ถูกวิธี ในส่วนของผักที่เป็นใบ ผู้บริโภคต้องคลี่ผักแต่ละใบออกมา และเปิดน้ำให้ไหลผ่านผักแต่ละใบอย่างน้อย 2 นาที หรือใช้น้ำยาล้างผักแช่ผักอย่างน้อย 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จึงจะนำมารับประทานได้อย่างปลอดภัย

"ความรุนแรงของเชื้อแบคทีเรียอีโคไล โอ 104 ที่ระบาดใน 12 ประเทศในยุโรป เชื่อว่าน่าจะมีความรุนแรงกว่าอหิวาตกโรคที่พบในประเทศไทย เพราะเชื้อจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดทำให้เกิดการแตกตัว และไตวายเฉียบพลัน ขณะที่อหิวาตกโรคทำให้ท้องเสียและสูญเสียน้ำในร่างกายเท่านั้น จึงทำให้การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียอีโคไล โอ 104 เป็นไปได้อยาก และมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า

ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดงานแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายผนังลำไส้ และกำลังระบาดในประเทศแถบยุโรปว่า ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาเชื้อดื้อยาในอัตราสูงมาก เกิดจากการแพร่กระจายยาปฏิชีวนะในชุมชน และบุคลากรทางสาธารณสุขจ่ายยาปฏิชีวนะที่มีระดับความแรงมากขึ้นให้ผู้ป่วย กรณีเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ระบาดต้องมีการเฝ้าระวังติดตาม ว่าเชื้อดังกล่าวมีอันตรายและเป็นเชื้อที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหรือไม่ เพราะคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ จึงมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคที่จะดื้อยา และมีอันตรายต่อผู้ป่วยมากขึ้นจนเกิดเป็นซูเปอร์บั๊กที่ไม่มียารักษาได้

“ขอให้หน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาในระยะยาวด้วย ต้องบอกข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้และป้องกันตนเอง พร้อมมีแผนการรับมือทันเหตุการณ์ มีแนวทางป้องกันเชื้อโรคที่มีความรุนแรงในระยะยาว รวมถึงการแก้ปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งที่ผ่านมา กพย.ได้ร่วมมือกับนิสิตนักศึกษาในสาขาวิชาแพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่ชุมชนในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล” ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าว

ผศ.ดร.ภญ.นิยดากล่าวว่า การตื่นตัวเฝ้าระวังเชื้ออีโคไลสายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดี กระตุ้นให้คนไทยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อใน ปัจจุบันนี้ ซึ่งหากมีอาการลำไส้อักเสบ ท้องเสีย มีอาการปวดท้องรวมด้วย ไม่ควรซื้อยามากินเอง และไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่เชื้อโรคจะสะสมและแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที.