search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6562803
การเปิดหน้าเว็บ:9409105
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  วิจัยวัคซีนไรฝุ่น `เทคโนโลยีดีเด่น`
  06 ตุลาคม 2554
 
 


วันที่: 6 ตุลาคม 2554
ที่มา: หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ ปีที่ 12 ฉบับ ที่ 3157
ลิงค์: www.dailyworldtoday.com/columblank.php?colum_id=59019

กรุงเทพฯ : ทีมวิจัยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นปี 2554 หลังเปลี่ยนสัตว์ตัวจิ๋วอย่างไรฝุ่นสู่วัคซีนต้านโรคภูมิแพ้ ด้านวิศวกรใหญ่จากเอสซีจี ซีเมนต์ คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทบุคคลจากผลงานพัฒนาเทคโนโลยีผลิตพลังงาน ทดแทน

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ประกาศผล รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2554 วานนี้ (5 ต.ค.) ณ โรงแรมสยามซิตี้ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ประธานมูลนิธิ กล่าวว่า เป็นรางวัลที่ริเริ่มขึ้นในปี 2543 เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศและเชิดชูผู้ มีผลงานดีเด่น และมีคุณธรรม จริยธรรมเหมาะสมทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อให้คนรุ่นหลังเจริญรอยตาม ตลอดจนช่วยเพิ่มความสามารถในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งในปีนี้มีผลงานวิจัยที่มีประโยชน์มากกว่า 50 ผลงานเข้าร่วมโครงการ

ทั้งนี้ ผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นจำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลดีเด่นประเภททีมคือ ทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งคิดค้นวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้จากไรฝุ่นขึ้นภายใต้ “โครงการพัฒนาการผลิตวัคซีนโรคภูมิแพ้จากไรฝุ่นที่ได้มาตรฐานของคณะแพทย ศาสตร์ศิริราชพยาบาล” ส่วนรางวัลดีเด่นประเภทบุคคล คือ ดร.เกรียงไกร สุขแสนไกรศร วิศวกรใหญ่ ฝ่ายวิศวกรรมและเทคนิค บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด ที่ร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัยด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) พัฒนาเทคโนโลยีผลิตพลังงานทดแทนที่เรียกว่า SCG Fluidized Bed Gasifier รองรับการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากเชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ช่วยให้ไทยสามารถประหยัดงบประมาณการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศที่มี ราคาสูงได้ 5-7 เท่า

ศ.พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร จากภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หัวหน้าทีมวิจัย เปิดเผยว่า เนื่องจากไรฝุ่นเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วย จำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาภาควิชาปรสิต ศิริราชพยาบาล ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงไรฝุ่นที่มีคุณภาพ มีความบริสุทธิ์สูงกว่า 99% ทีมวิจัยจึงได้นำไรฝุ่นสายพันธุ์ที่ผลิตได้มาต่อยอดเป็นน้ำยาที่สกัดจากสาร ก่อภูมิแพ้ และวัคซีนสำหรับตรวจและรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คาดว่าจะสามารถผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในต้นปีหน้า ซึ่งการผลิตวัคซีนตรวจและรักษาโรคครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกในเอเชีย ช่วยให้ไทยลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้ราว 36-360 ล้านบาทต่อปี เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า 50%

สำหรับรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ในปีนี้มี 2 รางวัลคือ ดร.นิศรา การุณอุทัยศิริ หัวหน้าห้องปฏิบัติการไมโครอะเรย์แบบครบวงจร ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่พัฒนาศักยภาพการผลิตไมโครอะเรย์ในประเทศไทยเพื่อใช้สำหรับการตรวจ วิเคราะห์เชื้อโรคที่ระบาดในอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ และ ผศ.ดร.อภินิติ โชติสังกาศ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากผลงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับวิศวกรรมปฐพี ในการตรวจวัดน้ำในช่องว่างดินเพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การสร้างระบบเตือนภัยดิน ถล่มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกเหนือจากการใช้ปริมาณน้ำฝนในการเตือนภัยเพียงอย่างเดียว