search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6562802
การเปิดหน้าเว็บ:9409104
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สธ.ยันไม่ขาดแคลนยา หารือผู้ประกอบการผลิตเพิ่ม
  31 ตุลาคม 2554
 
 


วันที่: 31 ตุลาคม 2554
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์
ลิงค์: www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000138546

รมว.สธ.ยืนยันจะไม่ให้เกิดปัญหายารักษาโรคขาดแคลนในท้องตลาดและในโรงพยาบาลทุกแห่ง ได้รับรายงานขณะนี้ยาเวชภัณฑ์มีพอ แต่ในอนาคตอาจจะมีความต้องการจะใช้ยาบางรายการจะมากขึ้น เช่นกลุ่มยาปฏิชีวนะ เตรียมนำเรื่องเข้า ครม.ถึง 3 มาตรการผ่อนผันผู้ผลิต ผู้ประกอบการยานำเข้าที่ประชุม ครม.ในวันพรุ่งนี้

วันนี้ (31 ต.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในภาวะที่มีน้ำท่วมกทม.และปริมณฑล ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจของประเทศ มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตยาและเวชภัณฑ์ได้รับผลกระทบมากกว่า 10 แห่ง ผลิตยาที่ขึ้นทะเบียนกว่า 393 ตำรับ สธ.ได้ป้องกันปัญหาการขาดแคลนยาที่จำเป็นในการรักษาทั้งในท้องตลาดและในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งโรงพยาบาลทุกแห่งต้องใช้เหมือนกันทั่วประเทศ และในช่วงที่มีน้ำท่วมขัง มีความจำเป็นต้องใช้ยาเวชภัณฑ์บางรายการใช้ในการรักษาโรคเพิ่มสูงขึ้น เช่นยาปฏิชีวนะ ได้สั่งการให้ นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และนพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) จัดหายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นให้เพียงพอ ประชุมผู้ผลิตยา และผู้ประกอบการเพื่อหารือ การเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานยาในประเทศไทย หากมีความจำเป็นให้ อภ.เป็นผู้นำเข้ายาและเวชภัณฑ์จากต่างประเทศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาของผู้ป่วย

นายวิทยา กล่าวต่อว่า ได้รับรายงานว่าสถานการณ์ยาในประเทศ ยังไม่มีปัญหาขาดแคลนแต่อย่างใดและโรงงานที่ถูกน้ำท่วมมีสต็อกยาเก็บไว้ชั้นบน สามารถนำมาใช้ได้ทันที อย่างไรก็ตาม ผู้รับอนุญาตผลิตยาที่โรงงานได้รับความเสียหายจากอุทกภัย กระทรวงสาธารณสุขได้นำข้อเสนอจากากรประชุมผู้ประกอบการ ซึ่งได้ข้อสรุปมาตรการจัดหายาเวชภัณฑ์เพิ่มขึ้นใน 3 ประเด็นดังนี้

1. ว่าจ้างผู้ผลิตยารายอื่นทดแทนเป็นการชั่วคราว จนกว่าโรงงานจะกลับมาผลิตได้อีกครั้ง โดยตำรับยาที่จะผลิตนั้นต้องมีสูตร ฉลาก เอกสารกำกับยา ขนาดบรรจุ เอกสารการควบคุมคุณภาพและรายละเอียดอื่นๆ เหมือนกับทะเบียนกำกับยาที่ผลิตเดิม แต่ให้ผ่อนผันการส่งข้อมูลการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการผลิต และการศึกษาความคงสภาพยาภายหลัง

2. การนำเข้ายาบางรายการโดยเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่ได้ว่าจ้างโรงงานผลิตยาให้ แต่โรงงงานดังกล่าวถูกน้ำท่วม เสียหาย โดยประสงค์ที่จะนำเข้ายาจากต่างประเทศมาทดแทนยาที่ผลิต ให้ขอความร่วมมือจาก อภ.เป็นผู้นำสั่งยาเพื่อทดแทนในรายการที่ผลิตไม่ได้ 3.การจัดส่งยา ให้ อย.ขอความร่วมมือจาก บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เข้ามาร่วมในการจัดส่งและกระจายยาไปยังพื้นที่เป้าหมายทั่วทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ สธ.จะได้พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในขณะนี้ด้วย โดยจะนำข้อเสนอที่กล่าวมาเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้