search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6562686
การเปิดหน้าเว็บ:9408975
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  วันนี้ เราทำเพื่อประเทศไทยหรือยัง?
  09 มกราคม 2555 ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มที่นี่
 
 


โดย ดร.ยุพดี ศิริสุข




สิทธิประโยชน์ประกันสังคมดัอยกว่า ต้องร่วมจ่าย

ผู้ประกันตน ประชาชนกลุ่มนายจ้าง เรียกร้องระบบประกันสุขภาพที่เท่าเทียม ไม่ต้องร่วมจ่ายด้านสุขภาพ เอาเงินที่จ่ายไปใช้กับสิทธิชราภาพดีกว่า

ผลลัพธ์ประเด็นที่หนึ่งเข้าทางผู้ให้บริการ ข้อเรียกร้องของผู้ประกันตนไม่มีใครเหลียวแล ต้องดิ้นรนต่อไป ปรากฎการณ์คือ

  1. สปส. เพิ่มสิทธิประโยชน์รายวัน
  2. โรงพยาบาลได้เงินเพิ่ม DRG ละ 15,000 บาท
  3. กองทุนถูกเอาเงินไปใช้เพิ่ม ก็เงินผู้ประกันตน และนายจ้างนั่นแหละ
  4. ผู้นำผู้ประกันบางส่วนหลงกล สปส. นึกว่าจะได้บริการที่ดีขึ้น ลืมไปเลยว่าเงินที่ รพ. ได้รับเพิ่มไม่ได้แปรตรงกับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น หากกระบวนการเฝ้าระวังไม่แข็งแรง ดูตัวอย่างจากระบบราชการ สุดท้าย รพ. และบริษัทยาข้ามชาติได้ประโยชน์จากเม็ดเงินนี้ไปเต็มๆ ดูจากกกลุ่มที่มาเคลื่อนไหวก็คือกลุ่มผู้ให้บริการหลักในระบบประกันสังคม พ่วงท้ายด้วยกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ
  5. ผลกระทบชิ่งมาที่ระบบหลักประกันบริการห่วย บริหารโดย สปสช. ห่วย ปรากฎการณ์เช่น
    5.1    เงินต่อ DRG แค่ 8-9 พันบาท ทำให้ รพ. ขาดทุน แล้วบริการจะดีได้อย่างไร
    5.2    ยาที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นยาชื่อสามัญที่ผลิตโดย GPO บริษัทไทยบริษัทอินเดีย บริษัทจีนไม่ได้ GMP ไม่ทำ BE แสดงว่ายาไม่มีคุณภาพ โปรดจงหันมาใช้ยานอกกันเถอะ (ข้อมูลกรมวิทย์ฯ บอกว่าสัดส่วนมาตรฐานยาในประเทศที่ตกมาตรฐานประมาณ 5% ไม่แตกต่างจากสากล ยานอกก็มีตกมาตรฐานเหมือนกัน แต่เพราะยาแพงคนไม่ค่อยส่งตรวจมากนัก)

นี่เป็นเกมส์แห่งผลประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณในการรับฟัง

หากภาค ประชาชนยังมีหลักการว่าเราร่วมจ่าย เราควรได้บริการดีกว่า ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่เข้าใจได้ในเรื่องทั่วๆไป ไม่ใช่สำหรับเรื่องบริการสุขภาพเพราะยังไง ไม่ว่าเราจะเป็นกลุ่มที่ร่วมจ่ายหรือไม่ร่วมจ่าย เวลาปวดท้อง เวลาเป็นมะเร็ง เวลาเกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ เราต้องได้บริการที่เหมือนกันไม่ใช่หรือ หรือเราคิดว่า พวกไม่ร่วมจ่าย หากต้องรักษาโดยใช้ยาแพง หรือต้องผ่าตัดสมอง ก็ไม่สมควรได้รับบริการดังกล่าว

หลักการสำหรับบริการสุขภาพคือเรื่องของ ความเท่าเทียมอย่างแท้จริง คนจน คนรวยเมื่อป่วยต้องได้รับการรักษาในมาตรฐานเดียวกัน พวกเราอย่าให้ใครมาสร้างทัศนะความเห็นที่ผิดว่า จ่ายเงิน ต้องดีกว่าไม่จ่าย

อันที่จริง กลยุทธ์เพื่อแบ่งแยกประชาชนใช้ได้มาตลอด และเกมส์บริการสุขภาพก็เดินมาตามนี้โดยตลอด ตั้งแต่ระบบรักษา พยาบาลข้าราชการ ระบบประกันสังคม คนเหล่านี้เงินเดือนน้อย คนเหล่านี้จ่ายเงินสมทบต้องได้บริการดีกว่า ซึ่งเป็นมายาภาพที่คนเหล่านั้นคิดว่าตัวเองได้ดี กว่า หารู้ไม่ว่า ค่าใช้จ่ายกับข้าราชการส่วนใหญ่ก็คือค่ายาเอาไปให้บริษัทยาข้ามชาติ โดยการสนับสนุนของโรงพยาบาลรัฐ ที่คิดว่าจะได้กำไรมาจุนเจือ รพ. (ที่คิดว่าขาดทุน ทั้งที่เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นทุกวัน)

ส่วนต่างกำไรน้อยนิดที่ รพ. ได้รับ เทียบไม่ได้กับกำไรค่ายาที่บริษัทยาข้ามชาติขนกลับไป บริษัทแม่ในต่างประเทศ คนไทยที่รักประเทศชาติโดยเฉพาะคนไทยที่เป็นผู้บริหาร รพ. รัฐ แพทย์ผู้สั่งใช้ยาในรพ. ต่างๆ ลองไตร่ตรองดูอีกที ว่าความจริง เป็นเช่นไร โปรดหลุดออกจากเรื่อง รพ. ตัวเอง มาดูประโยชน์ชาติในภาพรวม แล้วจะรู้ว่า กลุ่มไหนทำเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ภาคประชาชนกลุ่มคนรัก หลักประกันสุขภาพ กลุ่ม รพ. เอกชน หรือกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ

คิดออกแล้วมาช่วยกันทำเพื่อประเทศไทยกันเถอะ