search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6562765
การเปิดหน้าเว็บ:9409067
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  เป็นเรื่อง ! โต้แหลก ข้อกล่าวหายาขององค์การเภสัชกรรมดื้อยามากที่สุดในโลก เป็นข้อมูลเท็จ !!!
  10 มกราคม 2555
 
 


วันที่: 10 มกราคม 2555
ที่มา: มติชนออนไลน์
ลิงค์: www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326186787
    


รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์


จากที่มีความพยายามโจมตีคุณภาพและการผลิตยาขององค์การเภสัชกรรมว่าไม่ได้ มาตรฐาน ไม่ได้ผ่านกระบวนการชีวสมมูลและยาต้านไวรัส GPO – vir ส่งผลให้การดื้อยาสูงขึ้นนั้น

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าบทความดังกล่าวนั้นมีข้อมูลเป็นเท็จในส่วนสาระสำคัญหลายเรื่อง ในฐานะที่ได้ไปพิจารณายาที่ตรวจชีวสมมูลขององค์การเภสัชกรรมพบว่ามีโครงการ ที่ต้องทำชีวสมมูลก็พบว่าองค์การเภสัชกรรมมีการตรวจชีวสมมูลมาโดยตลอด

“ประเด็นสำคัญที่บอกว่าองค์การเภสัชกรรมมีสิทธิพิเศษไม่ต้องไปขึ้น ทะเบียนยา กับ อย.นั้น แม้ว่าข้อเท็จจริงทางกฎหมายจะให้สิทธิพิเศษกับทางองค์การเภสัชกรรม แต่ว่าในระยะที่ผ่านมาร่วม10 ปี องค์การเภสัชกรรมได้สละสิทธิพิเศษนี้ และยืนยันว่ายาของทางองค์การเภสัชกรรมได้ขึ้นทะเบียนกับ อย.เกือบทุกรายการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2 อย่างก็คือ 1) เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนอย่างเต็มที่ ให้ผู้บริโภคได้รับยาจากองค์การเภสัชกรรมซึ่งได้รับการตรวจอย่างเข้มงวดจาก อย.แล้ว 2) ต้องการให้องค์การเภสัชกรรม สามารถแข่งขันได้ ในเชิงธุรกิจ เพราะว่าถ้าหากองค์การเภสัชกรรมใช้สิทธิพิเศษ เราก็จะไม่ได้รับความมั่นใจจากลูกค้า นั่นเป็นการตัดสินใจที่จะสละสิทธิพิเศษมากว่า 10 ปีแล้ว

นักวิชการเภสัชศาสตร์กล่าวว่า การทำชีวสมมูล(Bioequivalence Study) คือการศึกษาการออกฤทธิ์ และปริมาณยาในเลือด ซึ่งยาตัวเดียวกัน ต้องมีชีวสมมูลเท่ากันจึงจะขึ้นทะเบียนได้

ขณะที่นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า การที่กฎหมายให้สิทธิพิเศษในการผลิตยา ถือเป็นการเขียนกฎหมายอย่างมองการณ์ไกล สอดคล้องกับความจำเป็นของประเทศชาติและประชาชน องค์การเภสัชกรรมก็จะใช้สิทธิพิเศษฯ นี้ก็ต่อเมื่อเกิดประโยชน์กับประชาชน และเราก็สละสิทธิพิเศษนี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชน การที่ออกมาเขียนกล่าวหาแบบนี้ถือเป็นการกล่าวหาอย่างไม่รับผิดชอบและอาจจะไม่เข้าใจสาระของกฎหมายนี้อย่างแท้จริง

"ถือเป็นเรื่องที่ดีและไม่ควรตัดสิทธิพิเศษนี้ และสิทธิพิเศษนี้ก็ไม่ใช่ให้แค่เฉพาะองค์การเภสัชกรรมเท่านั้น แต่ให้สิทธิกับโรงพยาบาลสภากาชาดไทย และที่อื่นๆอีกหลายที่ เป็นเรื่องที่ดีไม่ควรจะถูกยกเลิก เพราะว่าในภาวะที่วิกฤตหรือในภาวะที่จำเป็น และที่สมควรสิทธิเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ที่เห็นได้ชัดชัดเจนกรณีการเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปลายปี 2554 ที่ผ่านมา เราจำเป็นต้องสั่งยาและเวชภัณฑ์ ที่เป็นยาที่จำเป็นต่อชีวิตของคนไข้ กรณีงูเขียวกรีนแมมบ้าหลุดออกไป เราก็สั่งซีรุ่มเข้ามา เพื่อว่าถ้ามีใครถูกกัดเราจะสามารถนำมาใช้ได้ทันที และซีรุ่มเหล่านี้ไม่มีการผลิตในประเทศ และไม่รอขึ้นทะเบียน เราจำเป็นต้องสั่งเข้าจากต่างประเทศ  แต่โชคดีที่ไม่มีใครถูกกัด แต่ถ้ามีใครถูกกัดแล้วต้องรอให้ซีรุ่มไปขึ้นทะเบียนก่อน อะไรจะเกิดขึ้น"

ในกรณีที่มีการกล่าวถึงคุณภาพของยา GPO-vir ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสขององค์การเภสัชกรรม ว่าทำให้เกิดการดื้อยาเพิ่มขึ้นนั้น นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ กล่าวว่า “ย้อนไปเมื่อตอนที่กระทรวงสาธารณสุขตัดสินใจทำซีแอล (สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา) ก็มีบริษัทยาที่เสียผลประโยชน์ออกมาเคลื่อนไหว โดยองค์กรที่เรียกว่า USA for innovation ได้โจมตีองค์การเภสัชกรรมด้วยข้อมูลเดียวกันนี้ มีการโฆษณาเพื่อใส่ร้ายป้ายสีประเทศไทยและองค์การเภสัชกรรมในเรื่องนี้ ซึ่งองค์การเภสัชกรรมก็ได้แจ้งความดำเนินคดี และแจ้งให้สื่อมวลชนทราบว่า การกระทำนี้เป็นการใช้สื่อเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือขององค์การเภสัชกรรม และทำให้องค์การเภสัชกรรมเสียหาย การนำข้อมูลเก่านี้มาใช้ซ้ำแสดงว่าผู้เขียนถ้าไม่ได้ตามเหตุการณ์ ก็อาจจะจงใจเป็นเครื่องมือของการทำร้ายประเทศไทย

ข้อมูลที่บอกว่ายาขององค์การเภสัชดื้อยามากที่สุดในโลกเป็นการใช้ข้อมูล รายงานอย่างบิดเบือนข้อเท็จจริง ความจริงยา GPO-vir ได้มีการศึกษาอัตราการดื้อยา โดยการศึกษาอยู่ที่จังหวัดแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ได้ติดตามคนในจำนวนหลายร้อยรายอย่างต่อเนื่อง พบว่าคุณภาพยาปลอดภัยและใช้ได้ผล พร้อมทั้งศึกษาพบว่าอัตราการดื้อยาต่ำกว่าอัตราการดื้อยาต้นแบบในต่างประเทศ เสียอีก ส่วนหนึ่งก็มาจากกลุ่มผู้ป่วยได้มีการรวมตัวกัน เป็นกลุ่ม เป็นชมรม ดูแลและให้ความช่วยเหลือกัน อย่างต่อเนื่อง และกินยาอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และยาของเราก็ได้คุณภาพมาตรฐาน เพราะฉะนั้นยาของเราไม่ได้ทำให้อัตราการดื้อยาสูงกว่าที่ไหนๆ ซึ่งเรามีเอกสารทางวิชาการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งตอนที่ USA for innovation โจมตีนั้น องค์การเภสัชกรรมก็ได้ทำข้อมูลชี้แจงไปเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยก็ยังใช้ยาเราอย่างต่อเนื่อง จนทุกวันนี้ เพราะข้อมูล หลักฐานทางวิชาการแน่นมาก”  นพ.วิชัยกล่าว

ในช่วงเดียวกันนี้ มีการเปิดตัวของกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพที่แฉให้เห็นผังความร่วมมือของ หน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลายแห่ง เช่น สมาคมผู้วิจัยและเภสัชภัณฑ์(พรีม่า) สมาคมโรงพยาบาลเอกชน ทั้งนี้กระบวนโจมตี และให้ร้ายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าไม่มีคุณภาพมีมาโดยตลอดรวมถึงการ เมืองยึดการบริหารกองทุน โดยความร่วมมือของทุนและการเมือง โดยอาศัยเสียงข้างมากของผู้ส่งคุณวุฒิ ในกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือการใช้โอกาสการตรวจเยี่ยม รพ.ขณะเป็นกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้ปฏิบัติ งาน กรณีการร้องเรียนตาม ม.41รวมถึงพยายามผลักดันให้ประชาชนต้องร่วมจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อทำให้ประชาชนมีความคิดความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในประเด็นด้านสุขภาพเพื่อ ผลประโยชน์ของตน