วันที่: 21 มีนาคม 2555 ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์ โดย จารยา บุญมาก
ภก.เด่นชัย ดอกพอง
ในครัวเรือนมักจะมียาที่มีส่วนผสมของยาสเตียรอยด์ติดบ้านไว้เพื่อใช้บรรเทาอาการอักเสบ และกดภูมิคุ้มกันในโรคต่างๆ นั้น เช่น โรคภูมิแพ้, โรคผิวหนัง, โรคตาและโรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ ฯลฯ หลายคนทราบดีว่าเป็นสเตียรอยด์ เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องระมัดระวัง หากจะซื้อใช้ก็ต้องใส่ใจอ่านฉลากที่มีการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แน่นอนว่า อาจจะดีหากได้รับยาจากคำสั่งแพทย์และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ทว่า ยังมีภัยเงียบที่หลายคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์เกี่ยวกับยาดังกล่าว นั่นคือ ภาวะการเสพติดสเตียรอยด์ ภก.เด่นชัย ดอกพอง รพ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวในงานเสวนาเรื่อง สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์ ที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ ว่า แม้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานพยายามจะใช้กฎหมายประกอบกับการเฝ้าระวังการใช้สเตียรอยด์ เพื่อผลักดันให้ร้านขายยาและผู้ผลิตยามีจริยธรรมในการใช้สารสเตียรอยด์ในยารักษาโรคอย่างเหมาะสมก็ตาม แต่ก็ยังพบลักลอบจำหน่ายยาปลอมมากมายจนบางครั้งทำให้ผู้บริโภคต้องตกอยู่ในภาวะที่ขาดยาไม่ได้ เช่น เคยใช้ยาแก้ปวดแผนโบราณแบบใดก็จะใช้ต่อเนื่องเป็นเดือนเป็นปี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพทั้งสิ้น
สเตียรอยด์แบบฉีด และยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
โดยทั่วไปการที่แพทย์จะพบผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้สเตียรอยด์ที่พบได้บ่อยๆ จะมีการแสดงอาการหน้าบวม เป็นแผล ท้องลาย ขาลาย หรือในบางรายก็มีภาวะการติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการใช้สเตียรอยด์ในขนาดสูงมีผลกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อราได้ง่าย นอกจากนี้สเตียรอยด์ยังอาจบดบังอาการแสดงของโรคติดเชื้อ ทำให้ตรวจพบโรคเมื่ออาการรุนแรงแล้ว กดการหลั่งฮอร์โมนภายในร่างกาย การให้สเตียรอยด์ขนาดสูง จะไปกดการทำงานของระบบอวัยวะที่ทำหน้าที่ สร้างและควบคุมการการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งจะมากหรือ น้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขนาดของยา และระยะเวลาในการใช้ยา ทำให้เมื่อหยุดใช้ยานี้แล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จากการลงพื้นที่สำรวจชุมชน พบว่า ชาวบ้านบางรายมีการใช้ยาลูกกลอน ยาน้ำ ที่ผสมสารสเตียรอยด์สูงมาก กระทั่งผู้ป่วยบางรายยอมรับว่าขาดยาที่เคยใช้ประจำไม่ได้ แม้จะไม่มีภาวะแพ้เป็นแผล ท้องลาย หรือหน้าบวมมากนัก แต่ก็มีภาวะแทรกซ้นอื่นๆ หลายอย่าง ซึ่งเมื่อซักประวัติแล้วพบว่ามีการบริโภคยาสเตียรอยด์คิดเฉลี่ยเป็นความเข้มข้นระดับเม็ดก็ตกเม็ดละ 30 มิลลิกรัม มีการบริโภคอย่างต่ำ 4 เม็ดต่อวัน และมากสุด 12 เม็ดต่อวัน กลุ่มนี้จึงมักแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากสเตียรอยด์มีผลทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารบางลง และยับยั้งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทดแทนเนื้อเยื่อเก่าที่หลุดไป การใช้สเตียรอยด์อาจทำให้มีอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ โดยไม่มีอาการปวดมาก่อนและหากเป็นในระดับรุนแรงในภาวะผลต่อระบบประสาทส่วนกลางสเตียรอยด์อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และอารมณ์ของผู้ใช้ยาได้ นอกจากนี้ ยังพบอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ เช่น นอนไม่หลับ เจริญอาหาร กระสับกระส่าย หงุดหงิด เป็นต้น
เกิดภาวะกระดูกผุ (Osteoporosis)
ในบางรายพบว่า เกิดภาวะกระดูกผุ (Osteoporosis) โดยเฉพาะผู้สูงอายุ, หญิงวัยทอง และยังมีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาและแขน และต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเป็นปกติ ผลต่อตายาหยอดตาบางชนิด มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หากใช้ไปนาน ๆ อาจทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย บางรายอาจทำให้ตาบอดได้ฤทธิ์และอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ สเตียรอยด์มีผลทำให้เกิดลักษณะที่เรียกว่า Cushings Syndrome ลักษณะที่พบในผู้ป่วยประเภทนี้ เช่น อ้วน ขนดก ระบบประจำเดือนผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อไม่มีแรง ปวดหลัง เป็นสิว มีอาการทางจิตใจ หัวใจล้มเหลว บวมน้ำ เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาว่า การเกิดภาวะเสพติดสเตียรอยด์ จะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อใช้ยานานเพียงใดและปริมาณเท่าใด จึงเกิดขึ้น แต่ระบุได้ว่ามีอันตรายเกิดขึ้นจริง ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) เสริมว่า การใช้ยาสเตียรอยด์จึงไม่ใช่แค่การเร่งเฝ้าระวังการเติมสารเกินขนาดในยาประเภทต่างๆ เท่านั้น แต่ผู้บริโภคเองต้องมีการเก็บประวัติการใช้ยา ตัวอย่างยา และแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งเวลาเข้าพบแพทย์เวลาเจ็บป่วยทุกกรณี เพื่อปกป้องตนเองจากการใช้ยาสเตียรอยด์
|