search ค้นหาภายในเว็บไซต์
 
 
โลโก้ กพย. โลโก้ สสส.
 
ลิงค์
บล็อก กพย.

เว็บไซต์ KnowSteroid

Facebook โฆษณา

Facebook สเตียรอยด์
Facebook Twitter
Youtube กพย.



สถิติ

ปรับปรุง : 7/03/2018
สถิติผู้เข้าชม:6527100
การเปิดหน้าเว็บ:9371027
Online User Last 1 hour (0 users)


 
  สปสช.แจงยาแก้โรคข้อเข่าเสื่อมอยู่นอกบัญชียาหลัก
  22 พฤศจิกายน 2555
 
 


วันที่: 22 พฤศจิกายน 2555
ที่มา: ASTV ผู้จัดการออนไลน์


เลขา สปสช.แจงการใช้สิทธิเบิกยาแก้โรคข้อเข่าเสื่อม เหตุอยู่นอกบัญชียาหลัก ชี้ปี 56 ยังมีงบกองทุนรายย่อยบริหารจัดการโรคล้มละลาย
       
นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวถึงกรณีกรมบัญชีกกรมบัญชีกลางยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ห้ามเบิกยากลูโคซามีน แก้โรคข้อเข่าเสื่อมในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งมีข้อสงสัยว่าการยกเลิกประกาศดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรคหรือไม่ ว่า จากการตรวจสอบข้อมูลการใบสั่งยาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของปี 2555 จำนวน 120 กว่าล้านใบพบว่ามีการเบิกจ่ายในกลุ่มกลุ่มโคซามีนเพียง 4ใบ ในส่วนการเบิกจ่ายยากลูโคซามีนในระบบสวัสดิการรักษาพาบาลข้าราชการ จากการรายงานผลการติดตามโดย สำนักงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบประกันสุขภาพ(สวปก.) หลังจากที่กรมบัญชีกลางได้มีมาตรการและเงื่อนไขตามข้อเสนอของราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย โดยให้ผู้ป่วยจ่ายเงินไปก่อนและใช้ใบเสร็จพร้อมใบรับรองแพทย์ผู้สั่งใช้เพื่อประกอบการเบิกตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2554 พบว่า การเบิกจ่ายยาในกลุ่มดังกล่าวลดลงอย่างมากเหลือเพียงเดือนละ8 แสนบาทหรือประมาณ ปีละ 10 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่จะมีมาตรการดังกล่าวซึ่งมีการเบิกเดือนละประมาณ50 ล้านบาทหรือปีละ 600 ล้านบาท และตัวเลขการนำเข้ายาดังกล่าวก็ลดลงด้วย ทำให้ประเทศลดการนำเข้ายาดังกล่าวได้ปีละไม่น้อยกว่า500 ล้านบาท
       
ส่วนกระแสข่าวเรื่องการยุบกองทุนย่อยต่างๆ ของ สปสช.นั้น นายแพทย์วินัย กล่าวว่า การบริหารงบประมาณสำหรับโรคเฉพาะที่ทำให้เกิดการล้มละลายกับผู้ป่วย และมีปัญหาการไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ เนื่องจากค่ารักษามีราคาแพง เช่น โรคไตวายเรื้อรัง เอดส์ หัวใจ มะเร็ง โรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลีย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ในปีงบประมาณในปี 2556 ยังคงมีการบริหารเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการเหมือนเดิม ซึ่งโดยปกติโรคดังกล่าวเมื่อมีการจัดการระยะหนึ่งจนทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้ดีแล้วก้อจะมีการปรับเข้าสู่ระบบปกติต่อไป
       
อนึ่ง การจัดการโรคราคาแพงที่เป็นภาระกับประชาชน รัฐบาลมีนโยบายในการบูรณาการสิทธิประโยชน์ระหว่างกองทุนต่าง ๆเพื่อเพิ่มคุณภาพในการให้บริการอย่างทัดเทียมกัน เช่น ที่ดำเนินการมาแล้วได้แก่ โรคเอดส์ โรคไตวายเรื้อรัง นโยบายฉุกเฉินรับบริการได้ทุกที่ และจะดำเนินการระยะต่อไปคือ โรคมะเร็ง